ภาพรวมพื้นที่ของกัมพูชามีประมาณ 1 ใน 3 ของไทย มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน แต่ทำไมทุกประเทศมุ่งไปสู่กัมพูชา มีนักธุรกิจจีนเข้าไปทำธุรกิจในกัมพูชามากมาย ลงทุนปีละหลายพันล้านเหรียญยกตัวอย่างธุรกิจเช่น เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ธุรกิจกาณ์เมนท์ เกษตรแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นโรงสี โรงงานแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งล้วนแต่เป็นนักธุรกิจจีนทั้งสิ้น
คุณจีรนันท์ วงศ์มงคล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา กล่าวว่า เมื่อจีนเข้ามาในกัมพูชาแล้ว นอกจาก China Town ที่กัมพูชา แล้วปัจจุบันก็มี
Korea Town , Japan Town มาสร้างอาณาจักรใหญ่โตที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเขาอาศัยวัสดุก่อสร้างที่ประเทศไทย ดังนั้นการค้าจากไทยก็จะเกิดขึ้นกับ กัมพูชา รวมถึงนักธุรกิจที่เป็น SME หรือ โอทอป
กลุ่มคนที่จะเข้ามาอยู่ในเมืองสร้างใหม่ต้องกินต้องใช้ ท่านสามารถแทรกซึมกับโอกาสที่นักธุรกิจชาติต่างๆ นี้ได้อย่างไรบ้าง
กัมพูชาสามารถเชื่อมโยงกับประเทศไทย โดยอาศัย 6 ด่านการค้าชายแดน ตั้งแต่จังหวัดตราด จันทบุรี
สุรินทร์ สระแก้ว ศรีษะเกษ อยากให้นักธุรกิจทุกท่านมองภาพจากที่ไทยเป็นศูนย์กลางในการเข้าไปในลาว เวียดนาม กัมพูชา ต่อไป
คุณจีรนันท์ กล่าวต่อถึงความมั่งคั่งของกัมพูชาว่า เมื่อไม่นานมานี้กัมพูชาได้ออกข่าวว่ามีน้ำมันอยู่ในอ่าวไทย ซึ่งอาจจะเป็นปัญหากับไทยในอนาคตนอกจากเขาพระวิหาร แต่ข่าวที่ไม่ได้ประกาศคือกัมพูชา
ค้นพบแร่ทองคำและแร่เหล็กอีกมากมาย เพราะฉะนั้นมองว่ากัมพูชาต่อไปรวยแน่นอน
สำหรับการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าที่สร้างเกาะกง ไฟฟ้าพลังน้ำ และถ่านหิน ก็จะขายมาฝั่งไทย
เป็นแบตเตอรี่ตัวที่สอง หลังจากที่ลาวเป็นแบตเตอรี่ตัวแรกที่ส่งมาขายที่ไทย
โอกาสการลงทุนสำหรับกัมพูชาเปิดรับการลงทุนทุกอย่าง ยกเว้นการค้ามนุษย์ ยาเสพติด อาวุธ
และสิ่งที่ผิดศีลธรรมประเพณี ซึ่งข้อดีคือไม่มีอาชีพใดที่สงวนคนของเขา เพราะฉะนั้นกัมพูชาจึงเป็นโอกาสของธุรกิจไทยทุกประเภทสามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทคนต่างชาติได้ 100% สามารถได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากกัมพูชา และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนกัมพูชา นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาล
ได้กำหนดไว้ 3 ข้อว่า
1. รัฐจะไม่แทรกแซงด้านราคา
2. ให้ความยุติธรรมกับทุกประเทศที่มาลงทุน
3. สินค้าไม่มีการควบคุมแต่จะเปิดให้มีการแข่งขันเสรี
สินค้าที่ผลิตที่กัมพูชาสามารถส่งออกไปขายทั่วโลก โดยได้รับสิทธิประโยชน์จีเอสพี ยกเว้นภาษีนำเข้า
กัมพูชาจึงเป็นประเทศที่น่าสนใจและเป็นโอกาสของผู้ประกอบการทุกคน นักธุรกิจไทยต้องสลัดทัศนคติ
ที่มองกัมพูชาแบบเดิมๆ ต้องกล้าเข้าไปดูกัมพูชาว่าอะไรที่ทำได้บ้าง
การเข้าไปแสวงหาโอกาสยากง่ายแค่ไหน
คุณอรนุช ผการัตน์ กรรมการผู้จัดการ First Travel & Intra Mekong Bangkok กล่าวว่า 30-40 ปีที่ผ่านมา
กัมพูชาแทบจะไม่ได้พัฒนาอะไรเลย ขณะที่ไทยพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ มากมาย เราต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ สินค้าส่วนใหญ่ในกัมพูชานำเข้าทั้งหมด ชายแดนกัมพูชาติดกับไทย ขนสินค้าไปง่าย
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ทดลองเอาสินค้าไปขายที่ ตลาดโรงเกลือ ถ้าสินค้าขายดี ก็เข้าไปค้าขายได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ปอยเปต หรือเกาะกง
ถ้าถามว่าธุรกิจอะไรที่ควรเข้าไปบ้าง อย่างธุรกิจการเกษตร มีบริษัทใหญ่ๆ เข้าไป ทั้งซีพี เบทาโกร
ธุรกิจที่เกี่ยวกับของกินของใช้ กัมพูชาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเงินสะพัดมาก โรงแรมต่างๆ ก็ต้องการของตกแต่งและของใช้ในโรงแรม
โอกาสของไทยในตลาดลาว
คุณพิมล ปงกองแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทร์ ประเทศลาว
กล่าวถึงโอกาสของไทยในตลาดลาวว่า ประเทศไทยอยู่กลางอาเซียน ส่วนลาวอยู่กลาง GMS เพราะ
ฉะนั้นลาวเป็นจุดศูนย์กลางของลุ่มน้ำโขง ลาวเองก็มีความสำคัญด้านการค้าการลงทุนเช่นกัน
หากมองภาพรวมพื้นที่ของลาวเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศไทย แต่มีประชากรเพียง 7 ล้านคน บริบทของลาวต้องศึกษาอาจจะไม่เร็วเท่าไทย แต่ไปอย่างมั่นคง ลาวมีความมั่งคั่งทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานไฟฟ้า แร่ธาตุ การเกษตรที่ไทยสามารถเข้าไปส่งเสริมได้ โดยเฉพาะพื้นที่ลาวใต้ซึ่งเหมาะสมกับการเกษตร
นอกจากนี้ในปีนี้ลาวยังได้รับรางวัลประเทศที่น่าท่องเที่ยวที่สุดในโลก จากสภาธุกิจท่องเที่ยวการค้าแห่งยุโรป ซึ่งมองว่านักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
ด้านวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคนไทย แต่ไม่เหมือนกันนัก ภาษาเหมือนแต่ความหมายอาจจะคนละเรื่องกัน ซึ่งต้องศึกษา คนลาวเป็นคนที่มีพฤติกรรมซื้อน้อย ซื้อบ่อย ซื้อสด ไม่ค่อยชอบเป็นหนี้
คนลาวมักข้ามแดนมาซื้อสินค้าที่อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งคล้ายคลึงกับกัมพูชา โรงงานผลิตค่อนข้างน้อย จึงน่าจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย
นอกจากนี้คนลาวชอบเฮฮา ปาร์ตี้คล้ายคนไทย ชอบงานประเพณี งานแต่งงานจัดใหญ่โตมาก งานพิธีการจะให้ความสำคัญและใช้เงินจำนวนมาก งานเปิดบริษัทใหม่ อีเวนท์ ต่างๆ มากมาย
ด้านนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ของลาว ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และสอดคล้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะนำเข้าประเทศด้วยเช่นกัน
1. ส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เพราะฉะนั้นงานดีไซน์ สินค้าแฟชั่น ก็น่าจะเข้า
ไปได้ง่าย
2. การพัฒนาด้านการศึกษาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลลาวจะให้การส่งเสริมและสนับสนุน โดยจะให้สิทธิ พิเศษมากกว่าธุรกิจประเภทอื่นคือการศึกษา และเรื่องสุขภาพ หากตั้งโรงเรียน หรือโรงพยาบาล
จะยกเว้นสัมปทานถ้าเป็นเขตพื้นที่รัฐบาล และมีสิทธิด้านภาษีลดหย่อน
ธุรกิจ 7 ประเภท ที่ลาวให้การส่งเสริมและสนับสนุน
1. การผลิตเพื่อการส่งออก เพื่อจ้างแรงงานลาวให้ประชากรมีรายได้
2. เกษตรอินทรีย์ การปลูกป่า
3. การรักษาสิ่งแวดล้อม
4. การแปรรูปงานหัตถกรรม
5. ธุรกิจที่ใช้โนฮาว เทคโนโลยี เพื่อไปพัฒนาบุคลากรลาว
6. ผลิตวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อซัพพอร์ทกับอุตสาหกรรมในพื้นที่
7. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
ถ้ามองลาว และมองให้ไกลกว่าลาว ก็จะมองเห็น 3 สิ่งคือ
1. ลาวจะเป็นแหล่งซัพพอร์ทเรื่องพลังงานไฟฟ้า โดยทำได้จากการสร้างเขื่อน สิ่งที่ตามมาคือโครงสร้างพื้นฐาน วัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ ไฟฟ้าจากชีวมวล ซึ่งโรงงาน
น้ำตาลมิตรลาว ใช้กากวัสดุจากการทำน้ำตาลผลิตออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้า จะเห็นว่าลาวเป็นแบตเตอร์รี่แห่งเอเชีย มีศักยภาพทำเขื่อน โดยในปี 2020 ได้วางแผนสร้างเขื่อนประมาณ 40 เขื่อน ซึ่งปัจจุบัน
มีประมาณเกือบ 20 เขื่อน
2. ลาวมีแร่ธาตุ ทองแดง ทองคำ ฟอสเฟต แร่ธาตุเชิงอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งเวลานี้อิตัลไทย
กำลังตั้งโรงงานผลิตอลูมิเนียม ที่ปากซอง แขวงจำปาสัก
3. ลาวเป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตร ปัจจุบันทางลาวเหนือจะเป็นแหล่ง sourcing ของจีน ซึ่งจีนปลูก
ยางพาราจำนวนมาก ประมาณ 30,000 เฮกต้าร์ หรือสองแสนไร่ และมีการลงทุนเพาะปลูกกล้วยไม้
และส่วนผสมสมุนไพร ส่วนทางลาวใต้จะมีเวียดนามเข้ามาปลูกยางพารา ส่วนไทยปลูกกาแฟ
มันสำปะหลัง มีกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยเข้าไปปลูกกาแฟ เพื่อส่งให้บริษัทดาวเรืองผลิตกาแฟใหญ่ที่
สุดของลาว ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเบียร์ลาวด้วย
ปัจจุบันธุรกิจของลาวน่าจะอยู่ในยุคของธุรกิจการเงิน ธนาคาร ประกันภัย และไอที ซึ่งเริ่มตื่นตัวมากขึ้น
เรื่อยๆ
คุณพิมล กล่าวต่อไปว่า ลาวเป็นประเทศที่มีเมืองหลวงไกล้ไทยมากที่สุด จากหนองคายใช้เวลา 30 นาที
ถึงเมืองหลวงที่เวียงจันทร์ ประเทศไทยมี 12 จังหวัดติดกับ 9 แขวงของลาว การค้าชายแดนยังสามารถ
ขยายได้อีกมากมาย มีด่านสากล 15 ด่าน ได้ข่าวว่าเปิดอีกสองด่านที่เชียงของ กับที่ภูดู่จังหวัดอุตรดิษฐ์
ดังนั้นถ้ารวมกับด่านที่เป็นจุดผ่อนปรนด้วยรวมเกือบ 40 ด่าน
ศักยภาพของลาวจึงเป็น Land Link ซึ่งไม่ได้ลิงค์แค่ไทย-ลาวเท่านั้น แต่เชื่อมโยงประตูการค้าเข้าสู่
เวียดนาม จีนใต้ กำพูชา
ทางตอนเหนือของไทยมีสะพานมิตรภาพ 3 แห่ง แห่งที่ 4 ที่เชียงของกำลังเปิดในปีนี้ ถัดขึ้นไปข้างบน
กำลังสร้างสะพานมิตรภาพพม่า-ลาว
ประสบการณ์ของนักธุรกิจไทยในอาเซียน
คุณชวลิต ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการบริษัท Inter Spirits (LAO) Co., Ltd. ผู้ประกอบธุรกิจผลิตสุรา ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตในไทยแห่งแรก และขยายการลงทุนไปที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเร็วๆนี้จะขยายไปที่พม่า
คุณชวลิต กล่าวว่า ผมทำธุรกิจลาวร่วม 10 ปี โรงงานเปิดมาได้ 6-7 ปี ธุรกิจค่อนข้างมีปัญหาในการขอใบอนุญาติซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
พาร์ทเนอร์หรือหุ้นส่วนธุรกิจคือสิ่งสำคัญ กฎหมายอาจกลายเป็นเรื่องรอง คนที่จะทำงานกับเรา ชี้เป็นชี้ตายเรา จากประสบการณ์ขาดทุนก็เนื่องจากปัญหาภายใน เพราะฉะนั้นควรจะหาผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจที่เราอยาก เราต้องเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ไกล้เคียงกับธุรกิจเรา การติดต่อราชการให้คนลาวที่เป็นพาร์ทเนอร์ติดต่อทุกอย่างก็ราบรื่นดี ซึ่งโอกาสประสบความสำเร็จจะมีค่อนข้างมาก
เนื่องจากในลาว บุคลากรค่อนข้างจะมีปัญหา จนจบปริญญาตรีมีน้อย วิศวกรหายาก โรงงานช่วงแรกต้องเอาคนไทยเข้าไป แรงงานคือปัญหาหลักของลาว
เริ่มต้นการขอใบอนุญาติประกอบการในลาวไม่ยุ่งยาก คล้ายในไทย คุณชวลิตแนะนำว่า ให้ติดต่อกับหน่วยงานราชการโดยตรง ส่วนเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยเป็นอย่างไร ลาวไกล้เคียงกัน การลงทุนร้านอาหาร การจดทะเบียนเหมือนกัน คนไทยสามารถลงทุนได้ร้อยเปอร์เซนต์ในหลายๆ ธุรกิจ
สำหรับการลงทุนร้านอาหารในลาว อาจมีปัญหาหรือสัญญาเช่า ซึ่งส่วนใหญ่ทำสัญญา 3-5 ปี โอกาสที่จะไม่ต่อสัญญามีค่อนข้างสูง ถ้าร้านอาหารขายดี ไลฟ์สไตล์ของคนลาว เข้าร้านอาหารก็มีบ้างระดับหนึ่ง แต่ไม่มาก จนบูมเพียง 3-5 ปี ต้องเปลี่ยนโลเคชั่น หรือปรับปรุงใหม่
ปัญหาประเด็นใหญ่คือ เรื่องการไม่ลงรอยกันของการทำธุรกิจ คุณชวลิต เล่าว่า ถ้าเราพูดจาไม่ดีกับพนักงานในร้านหรือแสดงความไม่ให้เกียรติคนลาว ร้านนั้นก็จะไปไม่รอด สังคมของลาวค่อนข้างแคบ
สื่อสารถึงกันเร็วมาก ลักษณะแบบปากต่อปาก
คุณชวลิต เล่าถึงการทำธุรกิจในระยะแรกๆ ว่า สมัยก่อนการขนส่งยังไม่พร้อม เมื่อ 6 ปีที่แล้วเราจึงเริ่มทำระบบจัดจำหน่ายเอง ปัจจุบันทุกอย่างเริ่มเปลี่ยน มีบริษัทรับจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งชาร์ทสูงถึง 20-30%
แล้วแต่สินค้า
ปัญหาที่สำคัญของการทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไปคือ ตลาดลาวค่อนข้างเล็กมาก บางเมืองมีประชากรประมาณ 3-4 แสนคน ไม่กระจุกตัวอยู่ในเมือง ค่อนข้างกระจาย เพราะฉะนั้นการกระจายสินค้าจึงค่อนข้างลำบาก
เนื่องจากประชากรเล็กและกระจัดกระจาย คนลาวไม่ชอบการซื้อขายผ่านเอเย่นต์ คิดว่าซื้อผ่านเอเย่นต์แพง ยอมเหมารถมารับสินค้าในเมืองเวียงจันทร์ แต่วันนี้ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนแต่เป็นไปอย่างช้าๆ ปัญหาการกระจายสินค้าเป็นปัญหาหนึ่ง ทำให้สินค้าใหม่ๆ ในตลาดเข้าไปได้ลำบากมาก ส่วนแบร์นต่างๆ สำหรับบริษัทใหญ่ จะได้เปรียบเนื่องจากสื่อต่างๆ ของไทยแทรกซึมเข้าถึง
ปัญหาด้านการขนส่งยังมีอยู่ การคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางใช้เวลานาน จากเวียงจันทร์ไปหลวงพระบางใช้เวลาประมาณ 8-10 ชม. เพราะฉะนั้นสินค้าต่างๆ ส่วนใหญ่เข้าทางด่านชายแดนจะใกล้กว่ามาก จากหนองคายเข้าเวียงจันทร์ ใช้เวลาเพียงครึ่งชม. จากอุบลราชธานีเข้าปากเซใช้เวลา 2-3 ชม.
คุณชวลิต กล่าวถึงกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าว่า ลักษณะการซื้อขายของคนลาว เดิมใช้แบบเอาสินค้าลงแขวงใหญ่ๆ ก่อน เช่น เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ปากเซ ห้วยทราย หลวงน้ำทา แขวงอื่นๆ เขาจะเอารถมาซื้อจากเซนต์เตอร์เหล่านี้ในช่วงระยะเริ่มต้น จากนั้นอีกสองปี เราก็เริ่มตามไป ระยะเริ่มต้นถ้าเราไปกระจายเองค่าใช้จ่ายจะสูง เนื่องจากพฤติกรรมของคนลาวจะซื้อน้อย แต่ซื้อบ่อย
วิธีขนส่งอีกแบบหนึ่ง คือการขนส่งโดยใช้รถโดยสาร วิ่งมาที่เซ็นต์เตอร์ รถโดยสารจะรับทั้งผู้โดยสารและสินค้าด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกมาก เมื่อเทียบกับการเหมารถไป
ลาวเป็นแหล่งที่รับวัตถุดิบที่ดีมาก การขนส่งค่อนข้างสะดวก และผ่านด่านไม่ยาก แต่จุดสำคัญก็คือต้องหาพาร์ทเนอร์ที่ดีถ้าไม่ดีโอกาสประสบความล้มเหลวก็ค่อนข้างสูง
คุณจีรนันท์ กล่าวสรุปว่า การค้ากับประเทศลาวและกัมพูชา ให้คิดว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยที่จะข้ามไปได้โดยสะดวกทำให้รู้สึกว่าไม่เหมือนต่างประเทศ บรรยากาศ ผู้คนหน้าตาเหมือนกัน การรวมประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน ถือเป็นประเทศใหม่ที่รวม 10 ประเทศ สามารถเดินทางได้สะดวก โดยมี 3 ประเทศที่เหมือนกันมากๆ คือไทย ลาว และกัมพูชา
เดินทางสะดวก การค้าใช้เงินบาท พูดภาษาใกล้เคียงกัน ขณะที่มองว่าภาษาไทยกับเพื่อนบ้านถือเป็นจุดอ่อน คนลาวและกัมพูชาสามารถพูดภาษาไทยได้ นักธุรกิจจึงควรศึกษาภาษาท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการค้าขายไม่ต้องคิดไปไกล การให้ราคาให้คิดที่ FOB ณ จุดชายแดน และขายเงินสดเท่านั้น
คุณจีรนันท์ให้คาถายุทธศาสตร์เพื่อเปิดเออีซีว่า อย่าเชื่อที่ใครบอก ต้องตามไปดู ทำการค้าแบบงดเชื่อ
ใช้การโฆษณาในไทยให้เป็นประโยชน์ ถ้าท่านไม่ใช่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ก็ลองทำกลยุทธ์ป่าล้อมเมือง หรือเมืองล้อมป่า
อีกทางคือการสอบถามข้อมูลที่ถูกต้องกับศูนย์อาเซียน เพื่อบริการนักธุรกิจไทยที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจและลงทุนในอาเซียน มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและตอบคำถาม
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจกับอาเซียนคือ เข้าให้ถูกช่อง ถูกกฎหมาย อย่าเชื่อคนง่าย ถูกคนและถูกช่อง
2 อย่างนี้ท่านจะประสบผลสำเร็จกับการทำธุรกิจกับลาวและกัมพูชา
CREDIT BY: http://logisticsviews.blogspot.com/2013/05/aec.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น