วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทิศทางการส่งออกในปี 2557 นี้ มีแนวโน้มในการเติบโต 5%





มีการระบุ การส่งออกของไทยในปี 2557 โดยทาง ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
ได้คาดการณ์ การเติบโตขึ้น 5%  ในปี 2557 นี้เนื่องมาจาก

1. เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มฟื้นตัว ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาทยอยตัดลดวงเงินมาตราการ QE ลง

2. สถานการณ์ทางการเมืองภายในไทย มีผลทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออก เงินบาทจึงอ่อนค่าลง
และปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ผู้ส่งออกในกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) สูง
มีความสามารถในการแข่งขันทางราคาเพิ่มขึ้น ถึงอย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งหากอ่อนค่าลงในอัตราเดียวกันอาจทำให้ผู้ส่งออกไทย
ไม่ได้เปรียบทางราคาจากการแข่งขัน
สำหรับตัวเลขการส่งออกของไทยทั้งปี 2556 ประมาณการณ์หดตัวที่ -0.5% จากการส่งออก 11 เดือน
ของปี 2556 มีมูลค่า 210,090 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ถึงอย่างไรก็ดี ผลการศึกษาโครงการดัชนีการส่งออก พบว่า ปี 2557 จะมีอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูง 5 กลุ่มดาวเด่น ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมไก่ กลุ่มอุตสาหกรรมกุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง

1. ยานยนต์และชิ้นส่วน คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 12% หรือราว 1.22 ล้านคัน ด้วยปัจจัยจากการผลิตที่เหลือจากโครงการรถยนต์คันแรก ส่งออกเพื่อทดแทนการขายภายในประเทศที่ลดลง
วมถึงตลาดส่งออกในออสเตรเลียมีความต้องการรถยนต์ประเภท Eco Car เป็นจำนวนมาก

2. เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 7 % จากตลาดอาเซียนซึ่งมีแนวโน้ม
เติบโตสูง รวมถึงเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มฟื้นตัวมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้น

3. เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์/ซอฟแวร์ คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 15%
ผลจากการฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก รวมทั้งตลาดอาเซียน และปัจจัยค่าเงินบาทอ่อนตัว

4. ไก่ คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 35% จากปัญหาไข้หวัดนกระบาดส่งผลกระทบต่อการส่งออก
ไก่เนื้อไปประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี ในปีนี้ญี่ปุ่นเริ่มอนุญาติให้นำเข้าไก่เนื้อจากไทย

5. กุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 35% จากสถานการณ์โรคตายต่วนในกุ้ง
คลี่คลายประกอบกับผู้ส่งออกไทยไม่โดนตอบโต้ทางภาษีจากการทุ่มตลาดสหรัฐฯ อย่างขณะที่คู่แข่งของไทยอย่างอินโดนิเซียโดนมาตราการตอบโต้การทุ่มตลาดจากสหรัฐ


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์ส่งออกปี 2557 จะมีแนวโน้มในทิศทางบวก แต่การปรับโครงสร้างการส่งออกยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยพัฒนาการส่งออกไทยที่มีความแข็งแกร่งในระยะยาว
สภาผู้ส่งออกฯ จึงเดินหน้าผลักดันยุทธศาสตร์ส่งออก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอสาระสำคัญของ
ยุทธศาสตร์ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา และสภาผู้ส่งออกฯ
ได้จัดทำแผนงานในรายละเอียดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเป็น Pilot Model สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อให้มีแผนงานโครงการและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินการทั้ง
13 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุที่เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญพื้นฐานของประเทศ มีโอกาสเติบโตสูง และมีองค์ประกอบที่ซับซ้อน โดยในแผนยุทธศาสตร์ส่งออกกลุ่มอาหารได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินงานที่สำคัญดังต่อไปนี้


แผนการดำเนินงานระยะสั้นของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557

  • เร่งรัดการเจรจา FTA Thai-EU และ TPP
  • เร่งรัดพัฒนาความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าอาหาร
  • พัฒนาวิธีการเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ
  • พัฒนาแหล่งวัตถุดิบและกลไกราคาอย่างยั่งยืน
  • จัดหาแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์

แผนการดำเนินงานระยะยาวของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557

  • วิจัยและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยง พันธุ์พืช บรรจุภัณฑ์ และสินค้ามูลค่าเพิ่ม
  • จัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตราฐานสากล
  • กำหนด Zoning ของกลุ่มอุตสหกรรมเป้าหมาย
  • สนับสนุนเงินกู้และสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ผู้ประกอบการที่ไปลงทุนในต่างประเทศและนำเข้าวัตถุดิบมายังประเทศ

แผนการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557

  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อผลิตและส่งออกต่อไปยังประเทศที่ 3
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อแสวงหาวัตถุดิบส่งกลับประเทศเพื่อทำการผลิตต่อไป
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อนำเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนาภาคการผลิตในประเทศ


แผนการส่งเสริมการส่งออกทางอ้อมของอุตสาหกรรมอาหารปี 2557

  • พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายภายในประเทศ (รวมทั้งนำสินค้าไทยกลับออกไปเผยแพร่ในประเทศของตน)
  • สำหรับขั้นตอนต่อไปนั้นทางสภาผู้ส่งออกฯ จะจัดประชุมตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์รายกลุ่มอุตสหกรรมให้ครบทั้ง 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และเสนอให้ภาครัฐและภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อการพิจารณาและร่วมกันดำเนินการต่อไป




  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น