วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

THK ผู้บุกเบิกตลับลูกปืน LM Guide เข้าร่วมงาน Assembly Technology ที่กรุงเทพ ประเทศไทย

THK ได้ริเริ่มพัฒนากลไกของตลับลูกปืน Linear Motion (LM) Guide ตั้งแต่ปี 1972 และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อุปกรณ์ตลับลูกปืน LM Guide เป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของระบบเครื่องกลใน
อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความละเอียดในการทำงาน ความรวดเร็ว และการประหยัดพลังงาน ฯลฯ


หากนำลูกปืน "LM Guide" ของ THK ไปใช้กับเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว จะสามารถทำงานได้ด้วยความละเอียดสูง ซึ่งในช่วงแรกๆในอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ได้นำไปใช้งานเพื่อให้ทำงานให้ได้ความละเอียดระดับไมครอนในเวลาต่อมา "LM Guide" ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางไร้ขีด
จำกัด ไม่ว่าจะเป็นขบวนการผลิตจอแอลซีดี รถไฟ รถเข็น คนชรา รถเข็นผู้ป่วย อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์อาคารสูงและที่อยู่อาศัย อุปกรณ์และเครื่องเล่นในสวนสนุก ฯลฯ


ในโอกาสนี้ THK จะเข้าร่วมงาน "Assembly Technology 2013" (AST) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 
มิถุนายน (กรุงเทพ,ประเทศไทย) ที่ Bitec บางนา Hall 105 บูท H517 จึงขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วม
ชมงาน บริษัท THK LM SYSTEM Pte. Ltd. ซึ่งก่อตั้งในปี 2007 เพื่อเน้นการขยายตลาดและดูแล
ลูกค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาแสดงในงานสินค้า โดยมี LM Guide
และบอลสกรู ซึ่งเป็นสินค้าหลักของ THK เป็นชิ้นส่วนหลักในเครื่องจักรต่างๆ และยังมีลูกปืนสไลด์บน
เพลาเกลี้ยงลูกปืนล้อ/ลูกปืนแคม และสินค้าหมวดอื่นมากมาย จุดเด่นของงานก็คือชุดสาธิต
แอคชูเอเตอร์ พร้อมตัวอย่างการใช้งาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโรงงานอุตสาหกรรม และช่วยในการประหยัดพลังงานอีกด้วย เป็นต้น



CREDIT BY: http://www.newswit.com/gen/2013-06-13/1abfff41d400fd5f50f17e7bb31b8918/

เงินบาทปิด 32.91/92 อ่อนค่าลง รอความชัดเจน FOMC ถึงมาตรการ QE







นักบริหารเงินได้ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 32.91/92 บาท/ดอลลาร์ ปรับอ่อนค่าที่ระดับ
32.88/90 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงไหลเข้าเงินทุนของต่างประเทศ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ตลาดรอผลประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เรื่อง QE

"ค่อนข้างเงียบ มีหวือหวาเล็กน้อยในช่วงที่มีแรงขายเข้ามา ทำให้เงินบาทขยับจาก 32.92 (บาท/ดอลลาร์) ลงมาทำโลว์ที่ระดับ) 32.88 (บาท/ดอลลาร์) ก่อนที่จะอ่อนค่ากลับมาอยู่ที่เดิมช่วงท้ายตลาด"
นักบริหารเงินได้กล่าวไว้

ตลาดรอดูการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
ในวันที่ 28-29 ม.ค. นี้ ซึ่งหาก FOMC ปรับลด QE ลงก็จะทำให้ดอลลาร์แข็งขึ้น และเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อไป

นักบริหารเงิน คาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 32.85-32.95 บาท/ดอลลาร์

"กรอบบนยังคงไม่ผ่าน 33.00 (บาท/ดอลลาร์) ง่าย เพราะมีลูกค้ารอขายที่ระดับ 32.95 (บาท/ดอลลาร์)
เยอะมาก" นักบริหารเงินกล่าว



* ปัจจัยสำคัญ


- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.60 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 102.25/28 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโร 1.3692 ดอลลาร์/ยูโร แข็งค่าช่วงที่ระดับ 1.3681/3683 ดอลลาร์/ยูโร

- ดัชนี SET เปิดตัวที่ระดับ 1,288.59 จุด ลดลง  26.04 จุด, -1.98% มูลค่าการซื้อขาย 27,606.04 ล้านบาท

- สรุปการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,358.84 ล้านบาท (SET+MAI)

- ฟิทช์ เรทติ้งส์ ชี้สถานการณ์การเมืองที่ส่อแววยืดเยื้อจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และอาจกระทบต่อ
ความแข็งแกร่งของภาคธนาคาร ทั้งธนาคารเฉพาะกิจ และธนาคารพาณิชย์ที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
จากความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงในส่วนนี้ครัวเรือนที่สูงอยู่แล้ว ส่วนการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ไม่ช่วยแก้ปัญหา

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างการติดตามดูว่าการชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ ได้ส่ง
ผลกระทบต่อธุรกิจไทยมากแค่ไหน ซึ่งเบื้องต้นพบว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(เอสเอ็มอี) ในกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบมากกว่าเอสเอ็มอีที่อยู่ตามต่างจังหวัด แต่ทั้งนี้ยังคงที่จะประคองตัวไปได้ และธนาคารพาณิชย์ก็พยายามช่วยเหลือผู้ประกอบการเหล่านี้ให้พอไปได้ แต่ทุกฝ่ายเป็นห่วงว่าถ้าการชุมนุมลากยาวไปไกลเรื่อยๆ อาจจะไม่ไหวก็ได้

- "วายแอลจี" ประเมินราคาทองคำยังเคลื่อนไหวตามผลการประชุมเฟด ชี้หากคงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ไว้ที่ระดับเดิม จะเป็นบวก แต่หากมีการชะลอมาตรการผ่อนคลายทางการเงินลงอีกจะกระตุ้นราคาทองอ่อนตัว

- กระทรวงการคลัง คาดจะได้รู้ผลกฤษฎีกาไฟเขียวกู้ 1.3 แสนล้านบาทหรือไม่

- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรและเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรา
นิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (24 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในสัปดาห์นี้
อย่างใกล้ชิด โดยมีกระแสคาร์ดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
ลงอีก

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วง
ลงอย่างหนักของตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งยังได้รับปัจจัยลบจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดขนาด QE ลงอีก
โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ. ที่ตลาด NYMEX ปรับตัวลง 68 เซนต์ ปิดที่ 96.64
ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือน ก.พ. ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น
30 เซนต์ ปิดอยู่ที่ 107.88 ดอลลาร์/บาร์เรล

- นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชา
ธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกาศไม่เจรจาขอคืนพื้นที่กับศูนย์อำ
นวยการรักษาความสงบ (ศรส.) เด็ดขาด โยทุกเวทียังเดินหน้าต่อไปเช่นเดิม พร้อมเคลื่อนมวลชนที่ปราศจากอาวุธไปช่วยเวทีที่ถูกเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม

- ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวัน (28 ม.ค.) เตรียมพิจารณาตั้งอนุกรรมการไต่สวน น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว. กลาโหม กรณีที่
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์ ยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ประธานวุฒิสภาตามที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายการไม่ไว้วางใจ และประธานวุฒิสภาได้ส่งเรื่องมาให้
ป.ป.ช. พิจารณา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความล้มเหลวในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว

- คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) นัดหมายหัวหน้าพรรคการเมืองประมาณ 8 พรรคที่เคยมีเสียง ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎรชุดหลังสุดมาหารือเรื่องการกำหนดเลือกตั้งใหม่

- น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม นัดหารือกับนายสุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) เรื่องเลื่อนการเลือกตั้ง ในวันที่ 28 ม.ค. 57 เวลา 14.00 น.

- ธนาคารกลางเกาหลีใต้เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี
เนื่องจากผู้บริโภคมีการคาดการณ์มากขึ้นว่า เศรษฐกิจภายในประเทศยังคงฟื้นตัว โดยดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภค (CCSI) เดือน ม.ค. 57 เพิ่มขึ้น 2 จุดก่อนเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 109 ในเดือน ม.ค. 57 ซึ่งทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.54 ดังนั้นดัชนีอยู่ระดับเดียวกันที่ 109

- ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดทรงตัวในวันนี้ เนื่องจากคำสั่งขายทำกำไรในช่วงท้ายตลาดได้สกัดแรงซื้อในช่วงก่อนหน้านี้ เป็นผลงานจากความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 332 ซึ่งเป็นมาตรฐานวัดดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.630% ทรงตัวจากระดับปิดเมื่อวันศุกร์ ส่วนราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับตัวขึ้น 0.02 จุด แตะที่ 144.64 ที่ตลาดหุ้นโตเกียว

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เผยราคาที่ตลาดทองคำฮ่องกงพุ่งขึ้น 120 ดอลล่าร์ฮ่องกง
ปิดที่ระดับ 11,810 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ หรือราคาเทียบเท่ากับ 1,277.52
ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้น 12.98 ดอลลาร์สหรัฐ



CREDIT BY: http://www.ryt9.com/s/iq03/1824206 


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

6 สุดยอดผู้ประกอบการดีเด่นด้านโลจิสติกส์การค้า

กรมส่งเสริมระหว่างประเทศ ประกาศผล 6 บริษัท ผู้ประกอบการไทยรับรางวัล ELMA ภายในงาน TILOG 2013 (Thailand International Logistics Fair) กระตุ้นการพัฒนาประสิทธิภาพบริหารจัดการโลจิสติกส์การค้า เผยแนวคิดของบริษัทต้นแบบที่เป็นเลิศเพื่อยกระดับมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศของไทย







การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประกาศสุดยอดบริษัทผู้ประกอบการดีเด่นด้าน
โลจิสติกส์การค้า ซึ่งได้รับรางวัล ELMA (Export Logistics Model Award) ในปี 2556 ในกลุ่มผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ หรือผู้ใช้บริการโลจิสติกส์จำนวน 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชัย) 
(โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ สระบุรี) บริษัท ไมลอทท์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่งจำกัด และบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)


นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า "การประกวด ELMA หรือ Export Logistics Model Award นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย ที่จะแสดงศักยภาพในการบริหารจัดการโลจิสติกส์การค้าที่เป็นเลิศสู่สายตานานาชาติ เพราะรางวัลที่ได้รับถือเป็นตราสัญลักษณ์สำคัญที่ช่วยการันตีความเป็นมืออาชีพด้านโลจิสติกส์การค้า ขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทยในการประเมินหรือ Benchmark ผลการดำเนินงานของบริษัทว่าอยู่ในระดับไดเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับโลกภายใต้เกณฑ์การประเมินของ ELMA" 



รางวัล ELMA จึงเป็นรางวัลแห่งความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศของไทยในการประเมินศักยภาพของบริษัทกับมาตรฐานระดับโลกภายใต้กรอบการประเมินด้านธุรกิจและการจัดการ
โลจิสติกส์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับสากล ได้แก่ 
Malcolm Baldrige Framework for Quality Management และ Supply Chain Operation Reference (SCOR)
Model ซึ่งทำให้รางวัล ELMA เป็นรางวัลอันทรงคุณค่าที่ครอบคลุมทั้งมิติด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ อันเป็นหัวใจสำคัญของความเป็นเลิศทางธุรกิจอย่างแท้จริง


6 ต้นแบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ

"เจริญโภคภัณฑ์อาหาร" มุ่งตอบสนองลูกค้าแบบ "Visibility"



บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจรคว้ารางวัล ELMA 2013 ด้วยความโดดเด่นในการพัฒนาด้านกิจกรรมสนับสนุนโลจิสติกส์ที่ใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการมองเห็น (Visibility) และการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น (Responsiveness) ภายใต้การบูรณาการระบบไอทีสารสนเทศที่สามารถอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งในแง่ การรับคำสั่งซื้อ การติดตามเอกสาร การยืนยันสถานะของสินค้าให้กับลูกค้าปลายทาง


"ซี.พี.อินเตอร์เทรด" บูรณาการระบบขนส่งทางน้ำ



บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าว "ตราฉัตร" ทั้งในประเทศแลต่างประเทศกว่า 120 ประเทศทั่วโลก ด้วยกำลังการผลิตรวมประมาณ 1.65 ล้านต้นต่อปี บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด
มีความโดดเด่นในด้านบริหารจัดการโลจิสติกส์การผลิตที่เป็นเลิศด้วยศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงานการผลิตจากส่วนกลาง ประกอบกับกลยุทธ์การเลือกที่ตั้งของธุรกิจที่ไกล้กับแหล่งวัตถุดิบเพื่อลดระยะทางการขนส่ง และมีการพัฒนา Inland Port ที่เอื้อต่อการขนส่งทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและเป็นมิตต่อสิ่งแวดล้อมในการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือระหว่างประเทศ รวมถึงเป็นการลดต้นทุนโลจิสติกส์จากการขนส่งครั้งละจำนวนมาก



"ซีพีเอฟ" ต้นแบบขนส่งไก่มีชีวิตสู่การผลิต



บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ สระบุรี) ผู้ผลิตสินค้าประเภทเนื้อไก่
สดแช่เย็นและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ มีการบริหารจัดการโลจิสติกส์
ที่เป็นเลิศด้านการขนส่งวัตถุดิบไก่มีชีวิตจากฟาร์มสู่โรงงานผลิตโดยใช้ระบบ Just in Time ตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าในเรื่อง Animal Welfare ในขณะที่กระบวนการผลิตเป็นระบบต่อเนื่องที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมไปถึงการนำระบบบูรณาการจัดการด้านสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์กรที่สามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ



"ไมลอทท์ แลบบอราทอรีส์" กับระบบสารสนเทศที่เป็นเลิศ



บริษัท ไมลอทท์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด ผู้ผลิตเครื่องสำอางประเภท Skincare,Personal Care,
Color Cosmetics,Hair Care,Nail Care,Toiletries และ Household แบบครบวงจร จำหน่ายไปยังมากกว่า
37 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ตราสินค้าต่างๆ เช่น Unilever,Kose,Juju,Shiseido,Anna Sui,Maybelline/L'Oreal
Boots,Colgate-Palmolive,DKSH,THANN,HARNN และอื่นๆ อีกมากว่า 100 บริษัท มีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ สามารถบริหารการผลิตภัณฑ์มากกว่า 30,000 SKU โดยมีบรรจุภัณฑ์ต่างๆ 
มากกว่า 60,000 รายการ และมีวัตถุดิบมากกว่า 10,000 รายการ รวมแล้วเกือบ 100,000 รายการ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความโดดเด่นในเรื่องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับกับองค์กรได้อย่างเหมาะสม
และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทสามารถตอบสนองลูกค้าได้ดีเยี่ยม



"อำพลฟูดส์" บูรณาการจัดการแบบ Zero Waste



บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักดี ในการผลิต มะพร้าวกระทิยูเอชที ตราชาวเกาะ ธุรกิจอาหารพร้อมปรุงตรารอยไทย มีกระบวนการผลิตและกระบวนการจัดเก็บที่นำระบบไอทีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ
โลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ รวมถึงเป็นองค์กรที่มีแนวคิดความเป็น green organization บูรณาการจัดการแบบ
Zero Waste หรือไม่มีของเสียโดยใช้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมาเป็นผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปนอกจากนี้ยังนำกล่องยูเอชทีมารีไซเคิลแปรรูปเป็นโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน ช่วยลดภาวะโลกร้อน



"ศรีไทยซุปเปอร์แวร์" บริหารต้นทุนและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า



บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาโคราช ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่องานอุตสาหกรรมตลอดจนผลิตภัณฑ์เครื่่องใช้ในครัวเรือน ที่ทำจากเมลามีน 100% รายใหญ่ที่สุดของโลก ส่งออกกว่า 121 ประเทศ มีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการ Internal Logistics 3 ด้าน คือ Green Logistics , Lean Logistics และ Innovation Logistics เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด อีกทั้งให้ความสำคัญกับ ระบบสารสนเทศควบคุมการไหลของผลิตภัณฑ์เมลามีนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้านคือการนำแนวคิดกรีนโลจิสติกส์เข้ามาบริหารการจัดการต้นทุนขององค์กรโดยการปรับเปลี่ยนเป็นรถเอ็นจีวีและบริหารแบบ Full Truck Load ทั้งขาไปและขากลับ รวมทั้งมีการพัฒนาเครื่องมือและการออกแบบระบบการผลิต เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน การเคลื่อนย้ายการจัดเก็บ ลดกำลังคนและลดเวลาการทำงาน


อย่างไรก็ดี ทั้ง 6 บริษัทที่ได้รับรางวัล ELMA 2013 (Export Logistics Model Award) ต่างก็คงยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองของวิสัยทัศน์ของการดำเนินธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถยืนหยัดและเติบโตอย่างยั่งยืนบนเวทีการค้าโลก





วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทิศทางการส่งออกในปี 2557 นี้ มีแนวโน้มในการเติบโต 5%





มีการระบุ การส่งออกของไทยในปี 2557 โดยทาง ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
ได้คาดการณ์ การเติบโตขึ้น 5%  ในปี 2557 นี้เนื่องมาจาก

1. เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มฟื้นตัว ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาทยอยตัดลดวงเงินมาตราการ QE ลง

2. สถานการณ์ทางการเมืองภายในไทย มีผลทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออก เงินบาทจึงอ่อนค่าลง
และปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ผู้ส่งออกในกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) สูง
มีความสามารถในการแข่งขันทางราคาเพิ่มขึ้น ถึงอย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งหากอ่อนค่าลงในอัตราเดียวกันอาจทำให้ผู้ส่งออกไทย
ไม่ได้เปรียบทางราคาจากการแข่งขัน
สำหรับตัวเลขการส่งออกของไทยทั้งปี 2556 ประมาณการณ์หดตัวที่ -0.5% จากการส่งออก 11 เดือน
ของปี 2556 มีมูลค่า 210,090 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ถึงอย่างไรก็ดี ผลการศึกษาโครงการดัชนีการส่งออก พบว่า ปี 2557 จะมีอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูง 5 กลุ่มดาวเด่น ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมไก่ กลุ่มอุตสาหกรรมกุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง

1. ยานยนต์และชิ้นส่วน คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 12% หรือราว 1.22 ล้านคัน ด้วยปัจจัยจากการผลิตที่เหลือจากโครงการรถยนต์คันแรก ส่งออกเพื่อทดแทนการขายภายในประเทศที่ลดลง
วมถึงตลาดส่งออกในออสเตรเลียมีความต้องการรถยนต์ประเภท Eco Car เป็นจำนวนมาก

2. เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 7 % จากตลาดอาเซียนซึ่งมีแนวโน้ม
เติบโตสูง รวมถึงเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มฟื้นตัวมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้น

3. เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์/ซอฟแวร์ คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 15%
ผลจากการฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก รวมทั้งตลาดอาเซียน และปัจจัยค่าเงินบาทอ่อนตัว

4. ไก่ คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 35% จากปัญหาไข้หวัดนกระบาดส่งผลกระทบต่อการส่งออก
ไก่เนื้อไปประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี ในปีนี้ญี่ปุ่นเริ่มอนุญาติให้นำเข้าไก่เนื้อจากไทย

5. กุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง คาดการณ์ส่งออกปี 2557 เติบโตราว 35% จากสถานการณ์โรคตายต่วนในกุ้ง
คลี่คลายประกอบกับผู้ส่งออกไทยไม่โดนตอบโต้ทางภาษีจากการทุ่มตลาดสหรัฐฯ อย่างขณะที่คู่แข่งของไทยอย่างอินโดนิเซียโดนมาตราการตอบโต้การทุ่มตลาดจากสหรัฐ


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์ส่งออกปี 2557 จะมีแนวโน้มในทิศทางบวก แต่การปรับโครงสร้างการส่งออกยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยพัฒนาการส่งออกไทยที่มีความแข็งแกร่งในระยะยาว
สภาผู้ส่งออกฯ จึงเดินหน้าผลักดันยุทธศาสตร์ส่งออก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอสาระสำคัญของ
ยุทธศาสตร์ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา และสภาผู้ส่งออกฯ
ได้จัดทำแผนงานในรายละเอียดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเป็น Pilot Model สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อให้มีแผนงานโครงการและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินการทั้ง
13 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุที่เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญพื้นฐานของประเทศ มีโอกาสเติบโตสูง และมีองค์ประกอบที่ซับซ้อน โดยในแผนยุทธศาสตร์ส่งออกกลุ่มอาหารได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินงานที่สำคัญดังต่อไปนี้


แผนการดำเนินงานระยะสั้นของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557

  • เร่งรัดการเจรจา FTA Thai-EU และ TPP
  • เร่งรัดพัฒนาความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าอาหาร
  • พัฒนาวิธีการเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ
  • พัฒนาแหล่งวัตถุดิบและกลไกราคาอย่างยั่งยืน
  • จัดหาแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์

แผนการดำเนินงานระยะยาวของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557

  • วิจัยและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยง พันธุ์พืช บรรจุภัณฑ์ และสินค้ามูลค่าเพิ่ม
  • จัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตราฐานสากล
  • กำหนด Zoning ของกลุ่มอุตสหกรรมเป้าหมาย
  • สนับสนุนเงินกู้และสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ผู้ประกอบการที่ไปลงทุนในต่างประเทศและนำเข้าวัตถุดิบมายังประเทศ

แผนการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557

  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อผลิตและส่งออกต่อไปยังประเทศที่ 3
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อแสวงหาวัตถุดิบส่งกลับประเทศเพื่อทำการผลิตต่อไป
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อนำเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนาภาคการผลิตในประเทศ


แผนการส่งเสริมการส่งออกทางอ้อมของอุตสาหกรรมอาหารปี 2557

  • พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายภายในประเทศ (รวมทั้งนำสินค้าไทยกลับออกไปเผยแพร่ในประเทศของตน)
  • สำหรับขั้นตอนต่อไปนั้นทางสภาผู้ส่งออกฯ จะจัดประชุมตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์รายกลุ่มอุตสหกรรมให้ครบทั้ง 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และเสนอให้ภาครัฐและภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อการพิจารณาและร่วมกันดำเนินการต่อไป




  




AEC เปิดตลาดลาวและกัมพูชา

ทำไมทุกประเทศมุ่งสู่กัมพูชา



ภาพรวมพื้นที่ของกัมพูชามีประมาณ 1 ใน 3  ของไทย มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน แต่ทำไมทุกประเทศมุ่งไปสู่กัมพูชา มีนักธุรกิจจีนเข้าไปทำธุรกิจในกัมพูชามากมาย ลงทุนปีละหลายพันล้านเหรียญยกตัวอย่างธุรกิจเช่น เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ธุรกิจกาณ์เมนท์ เกษตรแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นโรงสี โรงงานแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งล้วนแต่เป็นนักธุรกิจจีนทั้งสิ้น

คุณจีรนันท์ วงศ์มงคล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา กล่าวว่า เมื่อจีนเข้ามาในกัมพูชาแล้ว นอกจาก China Town ที่กัมพูชา แล้วปัจจุบันก็มี
Korea Town , Japan Town มาสร้างอาณาจักรใหญ่โตที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเขาอาศัยวัสดุก่อสร้างที่ประเทศไทย ดังนั้นการค้าจากไทยก็จะเกิดขึ้นกับ กัมพูชา รวมถึงนักธุรกิจที่เป็น SME หรือ โอทอป
กลุ่มคนที่จะเข้ามาอยู่ในเมืองสร้างใหม่ต้องกินต้องใช้ ท่านสามารถแทรกซึมกับโอกาสที่นักธุรกิจชาติต่างๆ นี้ได้อย่างไรบ้าง

กัมพูชาสามารถเชื่อมโยงกับประเทศไทย โดยอาศัย 6 ด่านการค้าชายแดน ตั้งแต่จังหวัดตราด จันทบุรี
สุรินทร์ สระแก้ว ศรีษะเกษ อยากให้นักธุรกิจทุกท่านมองภาพจากที่ไทยเป็นศูนย์กลางในการเข้าไปในลาว เวียดนาม กัมพูชา ต่อไป

คุณจีรนันท์ กล่าวต่อถึงความมั่งคั่งของกัมพูชาว่า เมื่อไม่นานมานี้กัมพูชาได้ออกข่าวว่ามีน้ำมันอยู่ในอ่าวไทย ซึ่งอาจจะเป็นปัญหากับไทยในอนาคตนอกจากเขาพระวิหาร แต่ข่าวที่ไม่ได้ประกาศคือกัมพูชา
ค้นพบแร่ทองคำและแร่เหล็กอีกมากมาย เพราะฉะนั้นมองว่ากัมพูชาต่อไปรวยแน่นอน

สำหรับการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าที่สร้างเกาะกง ไฟฟ้าพลังน้ำ และถ่านหิน ก็จะขายมาฝั่งไทย
เป็นแบตเตอรี่ตัวที่สอง หลังจากที่ลาวเป็นแบตเตอรี่ตัวแรกที่ส่งมาขายที่ไทย

โอกาสการลงทุนสำหรับกัมพูชาเปิดรับการลงทุนทุกอย่าง ยกเว้นการค้ามนุษย์ ยาเสพติด อาวุธ
และสิ่งที่ผิดศีลธรรมประเพณี ซึ่งข้อดีคือไม่มีอาชีพใดที่สงวนคนของเขา เพราะฉะนั้นกัมพูชาจึงเป็นโอกาสของธุรกิจไทยทุกประเภทสามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทคนต่างชาติได้ 100%  สามารถได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากกัมพูชา และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนกัมพูชา นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาล
ได้กำหนดไว้ 3 ข้อว่า

1. รัฐจะไม่แทรกแซงด้านราคา
2. ให้ความยุติธรรมกับทุกประเทศที่มาลงทุน
3. สินค้าไม่มีการควบคุมแต่จะเปิดให้มีการแข่งขันเสรี

สินค้าที่ผลิตที่กัมพูชาสามารถส่งออกไปขายทั่วโลก โดยได้รับสิทธิประโยชน์จีเอสพี ยกเว้นภาษีนำเข้า
กัมพูชาจึงเป็นประเทศที่น่าสนใจและเป็นโอกาสของผู้ประกอบการทุกคน นักธุรกิจไทยต้องสลัดทัศนคติ
ที่มองกัมพูชาแบบเดิมๆ ต้องกล้าเข้าไปดูกัมพูชาว่าอะไรที่ทำได้บ้าง


การเข้าไปแสวงหาโอกาสยากง่ายแค่ไหน

คุณอรนุช ผการัตน์ กรรมการผู้จัดการ First Travel & Intra Mekong Bangkok กล่าวว่า 30-40 ปีที่ผ่านมา
กัมพูชาแทบจะไม่ได้พัฒนาอะไรเลย ขณะที่ไทยพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ มากมาย เราต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ สินค้าส่วนใหญ่ในกัมพูชานำเข้าทั้งหมด ชายแดนกัมพูชาติดกับไทย ขนสินค้าไปง่าย
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ทดลองเอาสินค้าไปขายที่ ตลาดโรงเกลือ ถ้าสินค้าขายดี ก็เข้าไปค้าขายได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ปอยเปต หรือเกาะกง

ถ้าถามว่าธุรกิจอะไรที่ควรเข้าไปบ้าง อย่างธุรกิจการเกษตร มีบริษัทใหญ่ๆ เข้าไป ทั้งซีพี เบทาโกร
ธุรกิจที่เกี่ยวกับของกินของใช้ กัมพูชาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเงินสะพัดมาก โรงแรมต่างๆ ก็ต้องการของตกแต่งและของใช้ในโรงแรม


โอกาสของไทยในตลาดลาว

คุณพิมล ปงกองแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทร์ ประเทศลาว
กล่าวถึงโอกาสของไทยในตลาดลาวว่า ประเทศไทยอยู่กลางอาเซียน ส่วนลาวอยู่กลาง GMS เพราะ
ฉะนั้นลาวเป็นจุดศูนย์กลางของลุ่มน้ำโขง ลาวเองก็มีความสำคัญด้านการค้าการลงทุนเช่นกัน

หากมองภาพรวมพื้นที่ของลาวเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศไทย แต่มีประชากรเพียง 7 ล้านคน บริบทของลาวต้องศึกษาอาจจะไม่เร็วเท่าไทย แต่ไปอย่างมั่นคง ลาวมีความมั่งคั่งทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานไฟฟ้า แร่ธาตุ การเกษตรที่ไทยสามารถเข้าไปส่งเสริมได้ โดยเฉพาะพื้นที่ลาวใต้ซึ่งเหมาะสมกับการเกษตร

นอกจากนี้ในปีนี้ลาวยังได้รับรางวัลประเทศที่น่าท่องเที่ยวที่สุดในโลก จากสภาธุกิจท่องเที่ยวการค้าแห่งยุโรป ซึ่งมองว่านักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ด้านวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคนไทย แต่ไม่เหมือนกันนัก ภาษาเหมือนแต่ความหมายอาจจะคนละเรื่องกัน ซึ่งต้องศึกษา คนลาวเป็นคนที่มีพฤติกรรมซื้อน้อย ซื้อบ่อย ซื้อสด ไม่ค่อยชอบเป็นหนี้

คนลาวมักข้ามแดนมาซื้อสินค้าที่อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งคล้ายคลึงกับกัมพูชา โรงงานผลิตค่อนข้างน้อย จึงน่าจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย

นอกจากนี้คนลาวชอบเฮฮา ปาร์ตี้คล้ายคนไทย ชอบงานประเพณี งานแต่งงานจัดใหญ่โตมาก งานพิธีการจะให้ความสำคัญและใช้เงินจำนวนมาก งานเปิดบริษัทใหม่ อีเวนท์ ต่างๆ มากมาย

ด้านนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ของลาว ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และสอดคล้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะนำเข้าประเทศด้วยเช่นกัน

1. ส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เพราะฉะนั้นงานดีไซน์ สินค้าแฟชั่น ก็น่าจะเข้า
    ไปได้ง่าย

2. การพัฒนาด้านการศึกษาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลลาวจะให้การส่งเสริมและสนับสนุน โดยจะให้สิทธิ       พิเศษมากกว่าธุรกิจประเภทอื่นคือการศึกษา และเรื่องสุขภาพ หากตั้งโรงเรียน หรือโรงพยาบาล
    จะยกเว้นสัมปทานถ้าเป็นเขตพื้นที่รัฐบาล และมีสิทธิด้านภาษีลดหย่อน



ธุรกิจ 7 ประเภท ที่ลาวให้การส่งเสริมและสนับสนุน

1. การผลิตเพื่อการส่งออก เพื่อจ้างแรงงานลาวให้ประชากรมีรายได้

2. เกษตรอินทรีย์ การปลูกป่า

3. การรักษาสิ่งแวดล้อม

4. การแปรรูปงานหัตถกรรม

5. ธุรกิจที่ใช้โนฮาว เทคโนโลยี เพื่อไปพัฒนาบุคลากรลาว

6. ผลิตวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อซัพพอร์ทกับอุตสาหกรรมในพื้นที่

7. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

ถ้ามองลาว และมองให้ไกลกว่าลาว ก็จะมองเห็น 3 สิ่งคือ


1. ลาวจะเป็นแหล่งซัพพอร์ทเรื่องพลังงานไฟฟ้า โดยทำได้จากการสร้างเขื่อน สิ่งที่ตามมาคือโครงสร้างพื้นฐาน วัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ ไฟฟ้าจากชีวมวล ซึ่งโรงงาน
น้ำตาลมิตรลาว ใช้กากวัสดุจากการทำน้ำตาลผลิตออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้า จะเห็นว่าลาวเป็นแบตเตอร์รี่แห่งเอเชีย มีศักยภาพทำเขื่อน โดยในปี 2020 ได้วางแผนสร้างเขื่อนประมาณ 40 เขื่อน ซึ่งปัจจุบัน
มีประมาณเกือบ 20 เขื่อน


2. ลาวมีแร่ธาตุ ทองแดง ทองคำ ฟอสเฟต แร่ธาตุเชิงอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งเวลานี้อิตัลไทย
กำลังตั้งโรงงานผลิตอลูมิเนียม ที่ปากซอง แขวงจำปาสัก


3. ลาวเป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตร ปัจจุบันทางลาวเหนือจะเป็นแหล่ง sourcing ของจีน ซึ่งจีนปลูก
ยางพาราจำนวนมาก ประมาณ 30,000 เฮกต้าร์ หรือสองแสนไร่ และมีการลงทุนเพาะปลูกกล้วยไม้
และส่วนผสมสมุนไพร ส่วนทางลาวใต้จะมีเวียดนามเข้ามาปลูกยางพารา ส่วนไทยปลูกกาแฟ
มันสำปะหลัง มีกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยเข้าไปปลูกกาแฟ เพื่อส่งให้บริษัทดาวเรืองผลิตกาแฟใหญ่ที่
สุดของลาว ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเบียร์ลาวด้วย

ปัจจุบันธุรกิจของลาวน่าจะอยู่ในยุคของธุรกิจการเงิน ธนาคาร ประกันภัย และไอที ซึ่งเริ่มตื่นตัวมากขึ้น
เรื่อยๆ

คุณพิมล กล่าวต่อไปว่า ลาวเป็นประเทศที่มีเมืองหลวงไกล้ไทยมากที่สุด จากหนองคายใช้เวลา 30 นาที
ถึงเมืองหลวงที่เวียงจันทร์ ประเทศไทยมี 12 จังหวัดติดกับ 9 แขวงของลาว การค้าชายแดนยังสามารถ
ขยายได้อีกมากมาย มีด่านสากล 15 ด่าน ได้ข่าวว่าเปิดอีกสองด่านที่เชียงของ กับที่ภูดู่จังหวัดอุตรดิษฐ์
ดังนั้นถ้ารวมกับด่านที่เป็นจุดผ่อนปรนด้วยรวมเกือบ 40 ด่าน

ศักยภาพของลาวจึงเป็น Land Link ซึ่งไม่ได้ลิงค์แค่ไทย-ลาวเท่านั้น แต่เชื่อมโยงประตูการค้าเข้าสู่
เวียดนาม จีนใต้ กำพูชา

ทางตอนเหนือของไทยมีสะพานมิตรภาพ 3 แห่ง แห่งที่ 4 ที่เชียงของกำลังเปิดในปีนี้ ถัดขึ้นไปข้างบน
กำลังสร้างสะพานมิตรภาพพม่า-ลาว



ประสบการณ์ของนักธุรกิจไทยในอาเซียน

คุณชวลิต ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการบริษัท Inter Spirits (LAO) Co., Ltd. ผู้ประกอบธุรกิจผลิตสุรา ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตในไทยแห่งแรก และขยายการลงทุนไปที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเร็วๆนี้จะขยายไปที่พม่า

คุณชวลิต กล่าวว่า ผมทำธุรกิจลาวร่วม 10 ปี โรงงานเปิดมาได้ 6-7 ปี ธุรกิจค่อนข้างมีปัญหาในการขอใบอนุญาติซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องปกติ

พาร์ทเนอร์หรือหุ้นส่วนธุรกิจคือสิ่งสำคัญ กฎหมายอาจกลายเป็นเรื่องรอง คนที่จะทำงานกับเรา ชี้เป็นชี้ตายเรา จากประสบการณ์ขาดทุนก็เนื่องจากปัญหาภายใน เพราะฉะนั้นควรจะหาผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจที่เราอยาก เราต้องเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ไกล้เคียงกับธุรกิจเรา การติดต่อราชการให้คนลาวที่เป็นพาร์ทเนอร์ติดต่อทุกอย่างก็ราบรื่นดี ซึ่งโอกาสประสบความสำเร็จจะมีค่อนข้างมาก

เนื่องจากในลาว บุคลากรค่อนข้างจะมีปัญหา จนจบปริญญาตรีมีน้อย วิศวกรหายาก โรงงานช่วงแรกต้องเอาคนไทยเข้าไป แรงงานคือปัญหาหลักของลาว

เริ่มต้นการขอใบอนุญาติประกอบการในลาวไม่ยุ่งยาก คล้ายในไทย คุณชวลิตแนะนำว่า ให้ติดต่อกับหน่วยงานราชการโดยตรง ส่วนเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยเป็นอย่างไร ลาวไกล้เคียงกัน การลงทุนร้านอาหาร การจดทะเบียนเหมือนกัน คนไทยสามารถลงทุนได้ร้อยเปอร์เซนต์ในหลายๆ ธุรกิจ

สำหรับการลงทุนร้านอาหารในลาว อาจมีปัญหาหรือสัญญาเช่า ซึ่งส่วนใหญ่ทำสัญญา 3-5 ปี โอกาสที่จะไม่ต่อสัญญามีค่อนข้างสูง ถ้าร้านอาหารขายดี ไลฟ์สไตล์ของคนลาว เข้าร้านอาหารก็มีบ้างระดับหนึ่ง แต่ไม่มาก จนบูมเพียง 3-5 ปี ต้องเปลี่ยนโลเคชั่น หรือปรับปรุงใหม่

ปัญหาประเด็นใหญ่คือ เรื่องการไม่ลงรอยกันของการทำธุรกิจ คุณชวลิต เล่าว่า ถ้าเราพูดจาไม่ดีกับพนักงานในร้านหรือแสดงความไม่ให้เกียรติคนลาว ร้านนั้นก็จะไปไม่รอด สังคมของลาวค่อนข้างแคบ
สื่อสารถึงกันเร็วมาก ลักษณะแบบปากต่อปาก

คุณชวลิต เล่าถึงการทำธุรกิจในระยะแรกๆ ว่า สมัยก่อนการขนส่งยังไม่พร้อม เมื่อ 6 ปีที่แล้วเราจึงเริ่มทำระบบจัดจำหน่ายเอง ปัจจุบันทุกอย่างเริ่มเปลี่ยน มีบริษัทรับจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งชาร์ทสูงถึง 20-30%
แล้วแต่สินค้า

ปัญหาที่สำคัญของการทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไปคือ ตลาดลาวค่อนข้างเล็กมาก บางเมืองมีประชากรประมาณ 3-4 แสนคน ไม่กระจุกตัวอยู่ในเมือง ค่อนข้างกระจาย เพราะฉะนั้นการกระจายสินค้าจึงค่อนข้างลำบาก

เนื่องจากประชากรเล็กและกระจัดกระจาย คนลาวไม่ชอบการซื้อขายผ่านเอเย่นต์ คิดว่าซื้อผ่านเอเย่นต์แพง ยอมเหมารถมารับสินค้าในเมืองเวียงจันทร์ แต่วันนี้ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนแต่เป็นไปอย่างช้าๆ ปัญหาการกระจายสินค้าเป็นปัญหาหนึ่ง ทำให้สินค้าใหม่ๆ ในตลาดเข้าไปได้ลำบากมาก ส่วนแบร์นต่างๆ สำหรับบริษัทใหญ่ จะได้เปรียบเนื่องจากสื่อต่างๆ ของไทยแทรกซึมเข้าถึง

ปัญหาด้านการขนส่งยังมีอยู่ การคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางใช้เวลานาน จากเวียงจันทร์ไปหลวงพระบางใช้เวลาประมาณ 8-10 ชม. เพราะฉะนั้นสินค้าต่างๆ ส่วนใหญ่เข้าทางด่านชายแดนจะใกล้กว่ามาก จากหนองคายเข้าเวียงจันทร์ ใช้เวลาเพียงครึ่งชม. จากอุบลราชธานีเข้าปากเซใช้เวลา 2-3 ชม.

คุณชวลิต กล่าวถึงกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าว่า ลักษณะการซื้อขายของคนลาว เดิมใช้แบบเอาสินค้าลงแขวงใหญ่ๆ ก่อน เช่น เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ปากเซ ห้วยทราย หลวงน้ำทา แขวงอื่นๆ เขาจะเอารถมาซื้อจากเซนต์เตอร์เหล่านี้ในช่วงระยะเริ่มต้น จากนั้นอีกสองปี เราก็เริ่มตามไป ระยะเริ่มต้นถ้าเราไปกระจายเองค่าใช้จ่ายจะสูง เนื่องจากพฤติกรรมของคนลาวจะซื้อน้อย แต่ซื้อบ่อย

วิธีขนส่งอีกแบบหนึ่ง คือการขนส่งโดยใช้รถโดยสาร วิ่งมาที่เซ็นต์เตอร์ รถโดยสารจะรับทั้งผู้โดยสารและสินค้าด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกมาก เมื่อเทียบกับการเหมารถไป

ลาวเป็นแหล่งที่รับวัตถุดิบที่ดีมาก การขนส่งค่อนข้างสะดวก และผ่านด่านไม่ยาก แต่จุดสำคัญก็คือต้องหาพาร์ทเนอร์ที่ดีถ้าไม่ดีโอกาสประสบความล้มเหลวก็ค่อนข้างสูง


คุณจีรนันท์ กล่าวสรุปว่า การค้ากับประเทศลาวและกัมพูชา ให้คิดว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยที่จะข้ามไปได้โดยสะดวกทำให้รู้สึกว่าไม่เหมือนต่างประเทศ บรรยากาศ ผู้คนหน้าตาเหมือนกัน การรวมประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน ถือเป็นประเทศใหม่ที่รวม 10 ประเทศ สามารถเดินทางได้สะดวก โดยมี 3 ประเทศที่เหมือนกันมากๆ คือไทย ลาว และกัมพูชา

เดินทางสะดวก การค้าใช้เงินบาท พูดภาษาใกล้เคียงกัน ขณะที่มองว่าภาษาไทยกับเพื่อนบ้านถือเป็นจุดอ่อน คนลาวและกัมพูชาสามารถพูดภาษาไทยได้ นักธุรกิจจึงควรศึกษาภาษาท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการค้าขายไม่ต้องคิดไปไกล การให้ราคาให้คิดที่ FOB ณ จุดชายแดน และขายเงินสดเท่านั้น

คุณจีรนันท์ให้คาถายุทธศาสตร์เพื่อเปิดเออีซีว่า อย่าเชื่อที่ใครบอก ต้องตามไปดู ทำการค้าแบบงดเชื่อ
ใช้การโฆษณาในไทยให้เป็นประโยชน์ ถ้าท่านไม่ใช่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ก็ลองทำกลยุทธ์ป่าล้อมเมือง หรือเมืองล้อมป่า

อีกทางคือการสอบถามข้อมูลที่ถูกต้องกับศูนย์อาเซียน เพื่อบริการนักธุรกิจไทยที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจและลงทุนในอาเซียน มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและตอบคำถาม

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจกับอาเซียนคือ เข้าให้ถูกช่อง ถูกกฎหมาย อย่าเชื่อคนง่าย ถูกคนและถูกช่อง
2 อย่างนี้ท่านจะประสบผลสำเร็จกับการทำธุรกิจกับลาวและกัมพูชา


CREDIT BY: http://logisticsviews.blogspot.com/2013/05/aec.html









วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรื่องจริงในบทบาทของธุรกิจ - อุตสาหกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นที่ทุกคนควรรู้

ธุรกิจ/อุตสาหกรรมไทยต้องเผชิญการท้าทายทั้งภายในและภายนอก

คงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การประกอบธุรกิจ/อุตสาหกรรมในประเทศไทยทุกวันนี้ มันไม่ง่ายเลย
อย่างน้อยก็ไม่ง่ายเหมือนกับ 5 - 10 ปีก่อน มาแล้ว มีแรงบีบ แรงกดดัน ปัญหา อุปสรรค สารพัดอย่าง
ทั้งจากภายในประเทศ และจากการแข่งขันระหว่างประเทศ บางกรณีเขาก็เข้ามาแข่ง มาแย่ง มาชิง
ส่วนแบ่งการตลาด ถึงในบ้านเราเลยทีเดียว ถ้าพูดในเชิงบวกก็คงกล่าวว่า ธุรกิจ/อุตสาหกรรมในไทย
ปัจจุบันต้องมีการเผชิญความท้าทายรอบด้าน เพื่อที่จะอยู่รอด มีกำไร พร้อมเป็นกำลังให้กับสังคมไทยในปัจจุบันเพื่อเป็นการพัฒนาไปสู่อนาคต


ชะตาของธุรกิจ/อุตสาหกรรมกับชะตาของสังคมเป็นของคู่กัน

ธุรกิจ/อุตสาหกรรม เป็นเหมือน "ครัว" ของสังคม ในขณะที่ "เกษตรกรรม" เปรียบเสมือน "ไร่นา"
ครอบครัวต้องมีทั้ง "ไร่นา" และ "ครัว" สังคมก็ต้องมีทั้ง "เกษตรกรรม" และ "ธุรกิจ/อุตสาหกรรม"
ฉะนั้นแล้ว ชะตาของ ธุรกิจ/อุตสาหกรรม กับชะตาของสังคม จึงเป็นของคู่กัน เป็นเรื่องเดียวกัน
ดีด้วยกัน เสื่อมด้วยกัน

ถ้า ธุรกิจ/อุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรือง สังคมก็จะได้รับผลดี ธุรกิจ/อุตสาหกรรมลำบาก สังคมก็ย่อมได้รับผลกระทบ ดังเช่นในขณะนี้ ในทางกลับกัน สังคมที่ลำบาก สังคมที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ย่อมไม่เอื้ออำนวยให้ ธุรกิจ/อุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าและมั่นคงยั่งยืนได้ เว้นแต่นักธุรกิจ/อุตสาหกรรม ผู้ฉวยโอกาสและขาดความรับผิดชอบบางคนที่อาจหากำไรจากความเดือดร้อนยากลำบากของผู้อื่น เช่นคนที่ค้ากำไรยามสงคราม เป็นต้น หรืออาจเป็นธุรกิจที่มีความสุจริตถูกต้อง เช่น ผลิตหรือขายอุปกรณ์บรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ทำให้ได้กำไรดี แต่ก็ไม่น่าภาคภูมิใจอย่างแท้จริง เมื่อคำนึงว่า ได้จากความลำบากของผู้อื่น และเป็นความลำบากที่สังคมหรือมนุษย์ร่วมกันสร้างเหตุขึ้นเอง และในระยะยาว
ธุรกิจ/อุตสาหกรรมเช่นนี้ ก็ไม่ควรจะยั่งยืน เพราะสังคมควรจะพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ที่ต้นเหตุมากกว่าการมาแก้หรือบรรเทาที่ปลายเหตุ


สังคมไทยมีสองส่วน คือส่วนบนและส่วนล่าง ซึ่งควรอยู่ด้วยกันอย่างเกื้อกูล

เมื่อพูดถึงสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมของประเทศกำลังพัฒนา คงต้องกล่าวว่าเรายังเป็นสังคมที่มีสองส่วน
คือส่วนบนและส่วนล่าง

ส่วนบน ได้แก่ คนชั้นกลาง ผู้มีอันจะกิน นักธุรกิจ/อุตสาหกรรม นักวิชาชีพ นักการเมือง ข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่บริษัท เป็นต้น

ส่วนล่าง ประกอบด้วย เกษตรกรส่วนใหญ่ ผู้ใช้แรงงาน คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย ถ้านับจำนวนคน ก็อาจประมาณได้ว่า ครึ่งต่อครึ่ง สัดส่วนจะเป็นเท่าไหร่แน่ คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ความสำคัญอยู่ที่ว่า สังคมที่ยังแบ่งได้เป็นสองส่วนเช่นนี้ ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ส่วนทั้งสอง และหาทางทำให้ทั้งสองส่วนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รวมทั้งนำไปส่วนการเป็น "สังคมเข้มแข็งมั่นคง" ด้วยกัน


ธุรกิจ/อุตสหกรรมโดยเฉพาะในภูมิภาคมีปฏิสัมพันธ์สูงกับสังคมส่วนล่างอยู่แล้ว

สำหรับธุรกิจ/อุตสหกรรมโดยทั่วไป ถ้าถือว่าเป็น "พลเมือง" ของสังคม ก็ต้องนับอยู่ในสังคมส่วนบน แต่ขณะเดียวกันก็มักมีปฏิสัมพันธ์สูงกับสังคมส่วนล่าง เช่น จ้างแรงงานจากสังคมส่วนล่าง รับซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากคนในสังคมส่วนล่าง จ้างเหมางานบางส่วนให้คนในสังคมส่วนล่าง ขายสินค้าหรือบริการให้คนในสังคมส่วนล่าง เป็นต้น ยิ่งขยายคำว่า "คนในสังคมส่วนล่าง" ให้รวมถึง "ครอบครัวด้วย"
ก็จะเห็นว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ/อุตสาหกรรมกับคนในสังคมส่วนล่างนั้น มีมากมาย ลึกซึ้ง กว้างขวาง และมีความหมายมาก ทำให้ควรคิดต่อไปว่า ระหว่าง "ธุรกิจ/อุตสาหกรรม" กับ "คนในสังคมส่วนล่าง" ควรเกื้อกูลกันอย่างไร จึงจะช่วยให้เกิดความเจริญมั่นคงอย่างยั่งยืน


คนในสังคมส่วนล่างส่วนใหญ่อยู่ในชนบทและในชุมชนแออัดในเมือง

คนในสังคมส่วนล่าง ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในท้องถิ่นชนบททั่วประเทศ จำนวนมากเป็นเกษตรกร หรือเป็นครอบครัวเกษตรกรอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ในชนบท แต่ก็มีจำนวนไม่น้อย รับจ้างใช้แรงงาน หรือค้าขาย หรือให้บริการเล็กๆน้อยๆ ทั้งในชนบท ในเมืองขนาดเล็ก ในเมืองขนาดกลาง และในเมืองขนาดใหญ่ รวมถึงในกรุงเทพมหานคร ในกรุงเทพมหานครและเมืองขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง เช่น ในเขตเทศบาลเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี อยุธยา นครสีธรรมราช ภูเก็ต จะมีชุมชนแออัดอยู่มากบ้างน้อยบ้าง มากที่สุดคือในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีชุมชนแออัดอยู่ประมาณ 1,200 แห่ง มีประชากรรวมกันอยู่ประมาณ 1,000,000 คน ส่วนชุมชนแออัดที่กระจายอยู่เมืองอื่นๆ ทั่วประเทศ รวมแล้วมีอีกประมาณ 1,000 แห่ง คิดเป็นจำนวนประชากรอีกประมาณ 1,000,000 คน


คนในสังคมส่วนล่างกำลังมีความพยายามพึ่งตนเองและพัฒนาตนเองให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชนแออัดในเมือง หรือคนในชุมชน/หมู่บ้านชนบท ต่างได้มีความตื่นตัวในอันที่จะพัฒนาตนเองและพึ่งตนเองมากขึ้น เช่นมีการวางแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง มีการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน หรือธุรกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ธนาคารสัจจะออมรายวัน กลุ่มและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

รวมแล้วประมาณ 30,000 แห่งทั่วประเทศ มีเงินออมรวมกันประมาณ 10,000 ล้านบาท นี้มิได้นับรวม
"กองทุนหมู่บ้าน/ชุมชนเมือง" (กองทุนละ 1 ล้านบาท) ที่รัฐบาลให้เงินไปตั้งในทุกหมู่บ้าน/ชุมชนเมือง
 รวมประมาณ 73,000 กองทุน มีเงินหมุนเวียนประมาณ 73,000 ล้านบาท

สรุปได้ว่า ชุมชนท้องถิ่น ทั้งในชนบทและในเมือง ล้วนมีศักยภาพและความตั้งใจในการพัฒนาตนเอง
รวมถึงการพัฒนาท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ จึงเป็นสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจ/อุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ในท้องถิ่นหรือไกล้เคียง พิจารณาเพิ่มบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นให้มากขึ้น


หลากหลายวิธีการที่ธุรกิจ/อุตสาหกรรม จะมีส่วนช่วยพัฒนาท้องถิ่น

การเพิ่มบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น โดยผู้ประกอบธุรกิจ/อุตสาหกรรม สามารถทำได้ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือทำหลายๆ รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. ทำให้การดำเนินงานของธุรกิจ/อุตสาหกรรม นั้นๆ มีครบทั้ง คุณธรรม คุณภาพ และประสิทธิภาพ ถ้าทำได้ดังนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก็ถือว่าเป็นพลเมืองดีที่ได้ทำประโยชน์ตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างพึงพอใจแล้ว แต่ถ้าสามารถทำมากกว่านั้นแน่นอน ย่อมเกิดประโยชน์และน่ายกย่องสรรเสริญมากขึ้นไปอีก

2. หารือกับตัวแทนของกลุ่มคนต่างๆ ในท้องถิ่น เพื่อค้นหาลู่ทางในการสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกันโดยทุกฝ่ายพอใจ การสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกันย่อมมีดี หลายวิธี ถ้าได้ปรึกษาหารือกัน น่าจะทำให้เห็นลู่ทางอันหลากหลายได้ไม่ยากนัก วิธีการเหล่านี้คงจะรวมถึงการขยายโอกาสการจ้างงาน การพัฒนาเงื่อนไขการจ้างงานให้ดีกับทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้าง ฝ่ายผู้รับจ้าง และดีกับสังคมโดยรวม
การรับซื้อสินค้า/บริการจากภายในท้องถิ่น การทำสัญญาร่วมงาน/รวมธุรกิจกับคนในท้องถิ่น การร่วมกันดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าในท้องถิ่น เป็นต้น

3. บริจาคเงินสิ่งของที่ช่วยเหลือ/สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในท้องถิ่น วิธีนี้เป็นวิธีปกติที่ทำกันโดยทั่วไป และยังควรทำกันต่อไป ตามกำลังความสามารถ/ความศรัทธา ของธุรกิจ/อุตสาหกรรม แต่ละแห่ง หรืออาจตั้งเป็น "กองทุน" หรือ "มูลนิธิ" ในสังกัดของ ธุรกิจ/อุตสาหกรรมผู้เป็นเจ้าของเงินก็ได้
แล้วใช้เงินจากกองทุน/อุตสาหกรรมผู้เป็นเจ้าของเงินก็ได้ แล้วใช้เงินจากกองทุน/มูลนิธิดังกล่าวในการสนับสนุนกิจกรรมในท้องถิ่นอีกต่อหนึ่ง วิธีนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Corporate philanthropy" และถ้าตั้งเป็นมูลนิธิในสังกัดของธุรกิจ/อุตสาหกรรม ก็เรียกว่า "Coporate foundation"  

4. ร่วมกับหลายๆ ฝ่ายในท้องถิ่นตั้งเป็น "มูลนิธิเพื่อท้องถิ่น" (Community foundation) เพื่อระดมทุนมา
สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่นอีกต่อหนึ่ง "มูลนิธิเพื่อท้องถิ่น" (Community foundation) จะเป็นความร่วมมือของหลายฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่นหรือมีความผูกพันอย่างไดอย่างหนึ่งกับท้องถิ่น ร่วมมือกันหลายฝ่ายในการจัดตั้ง ในการบริหาร ในการระดมทุน ในการกำกับดูแล ติดตามและประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทุนที่ได้มาจะนำมาใช้ส่วนหนึ่ง และเก็บเป็นกองทุนสะสม (Endowment fund) อีกส่วนหนึ่งเพื่อจะได้มีทุนต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน และในการสนับสนุนกิจกรรมในท้องถิ่น ควรมีความหลากหลายตามสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นแต่ละแห่ง

5. จัดให้มี "กิจกรรมอาสาสมัครเพื่อท้องถิ่น" ในหมู่ผู้บริหารและพนักงานของธุรกิจ/อุตสาหกรรม แต่ละแห่งตามความสมัครใจ ประจวบกับรัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2545 เป็น "ปีแห่งการพัฒนางานอาสาสมัครไทย" ตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อต้นปี จึงเป็นการเหมาะสมที่ ธุรกิจ/อุตสาหกรรม ต่างๆ จะสนองนโยบายที่ดีเช่นนี้ของรัฐบาล พร้อมกับทำในสิ่งที่มีคุณค่าในตัวของมันเอง ซึ่งธุรกิจ/อุตสาหกรรม หลายแห่งอาจทำอยู่บ้างแล้ว การเป็นอาสาสมัครไปทำประโยชน์ในท้องถิ่นหรือส่วนรวมจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าน่าชื่นใจ
ทั้งต่อผู้เป็นอาสาสมัคร ต่อชุมชนท้องถิ่น และต่อธุรกิจ/อุตสหกรรม ที่อาสาสมัครสังกัดอยู่ ถ้าใช้ภาษาอังกฤษก็ต้องเรียกว่าเป็น "Win-Win" คือ ทุกฝ่าย "ชนะ" หรือได้ประโยชน์นั่นเอง


สมาคม/สมาพันธ์ของธุรกิจ/อุตสาหกรรมสามารถช่วยส่งเสริมสนับสนุนเรื่องทั้งหมดนี้ได้มาก

การส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจ/อุตสาหกรรม ให้มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้น
และดียิ่งขึ้น หน้าจะเป็นหน้าที่หนึ่งของสมาคม/สมาพันธ์ของธุรกิจ/อุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งย่อมรวมถึงหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยสามสถาบันหลักที่รับหน้าที่เป็นตัวแทนภาคธุรกิจในการประชุมหารือกับรัฐบาลภายใต้ระบบ กรอ. ดังเป็นที่ทราบกันอยู่เพื่อการนี้
 แต่ละสถาบันอาจตั้งเป็น "โครงการ" ขึ้น โดยมีตัวแทนสมาชิกมาร่วมกันบริหาร จะได้มีความจริงจัง
ต่อเนื่อง และยั่งยืน อาจใช้ชื่อว่า "โครงการธุรกิจเพื่อสังคมไทย" "โครงการอุตสาหกรรมไทยรักถิ่น"
"โครงการธนาคารเพื่อท้องถิ่นไทย" หรืออะไรทำนองนี้ เป็นต้น

Credit By : http://www.thaingo.org/story/book_021.htm





วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความรู้ เรื่องสายพาน




ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับสายพานส่งกำลัง

การส่งกำลังทางกลจากเพลาอันหนึ่งไปยังเพลาอีกอันหนึ่ง อาจทำได้สามวิธี คือ โดยใช้เฟือง ใช้สายพาน และใช้โซ่ การส่งกำลังโดยสายพานเป็นการส่งกำลังแบบอ่อนตัวได้ (Flexible) ซึ่ง มีข้อดี และข้อเสียหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งกำลังโดยใช้เฟืองและ โซ่ ข้อดีก็คือ มีราคาถูกและก็ใช้งานได้ง่าย รับแรงกระตุกและการสั่นสะเทือนได้ดี ขณะใช้งานไม่มีเสียงดัง เหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลาที่อยู่ห่างกันมากๆ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ อย่างไรก็ตามข้อเสียของการขับด้วยสายพานก็มีคือ อัตราการทดที่ไม่แน่นอนนักเนื่องจากการสลิป (Slip) และการคลีฟ (Creep) ของ สายพานและต้องมีการปรับระยะห่างระหว่างเพลาหรือปรับแรงดึงในสายพานระหว่าง การใช้งาน นอกจากนั้นยังไม่อาจใช้งานที่มีอัตราทดสูงมากได้ ซึ่งมักใช้กับอัตราทดสูงมากได้ ซึ่งมักใช้กับอัตราทดไม่เกิน 5 เท่า


ชนิดและวัสดุของสายพาน

สายพานออกแบบเป็นสี่ชนิดตามลักษณะหน้าตัดของสายพาน คือ สายพานแบน (Flat Belts) มีหน้าตัดเป็รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สายพานลิ่ม (V-Belts) มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สายพานกลม (Ropes) มีหน้าตัดเป็นรูปวงกลมและสายพานไทม์มิ่ง (timing Belt) มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูแต่จะทำเป็นร่องคล้ายฟันเฟืองตลอดความยาวของสายพาน สายพานแต่ละชนิดจะมีลักษณะในการใช้งานต่างกัน วัสดุที่ใช้ทำสายพานซึ่งใช้งานกันมากก็คือหนัง (Oak-tanned Leather) แต่ถ้าเป็นการใช้งานพิเศษ เช่นอยู่ในบรรยากาศที่มีความชื้นสูง มีไอของสารเคมี หรือมีน้ำมันอยู่ด้วยก็มักใช้สายพานแบบ Chrome Leather เพื่อ ให้สายพานมีอายุการใช้งานได้พอสมควร จึงมักให้ค่าความเค้นในการออกแบบสายพานต่ำกว่าความต้านแรงดึงสูงสุดของ สายพานมากๆ โดยทั่วยไปจะใช้ค่าความปลอดภัยประมาณ 10 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของบสายพานหนังจะมีค่าประมาณ 0.40-0.50 และความเร็วใช้งานของสายพานควรจะอยู่ในช่วง 1,000-2,000 m/min
สายพานอีกชนิดหนึ่งคือสายพานยาง (Rubber Belts) สายพานประเภทนี้จะมีฝ้ายหรือผ้าใบเป็นไส้ภายในและมียางหุ้มอยู่ภายนอก ยางที่ใช้หุ้มจะเป็นยางที่อบด้วยกำมะถันในอุณหภูมิสูง (Vulcanized) เพื่อ เพิ่มความยึดหยุ่นและความต้านแรง สายพานยางเหมาะสำหรับใช้กับงานที่มีน้ำมันหรือแสงแดด เมื่อเปรียบเทียบกับสายพานหนังแล้ว สายพานยางจะมีราคาที่ถูกกว่าแต่อายุใช้งานนั้นสั้นกว่าสายพานยางทนต่อสภาพบรรยากาศ ในการใช้งานได้ดีกว่าสายพานหนัง ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของสายพานยางจะมีค่าประมาณ 0.30-0.40 และสามารถรับแรงดึงได้ประมาณ 20 N ต่อชั้น ต่อความกว้างสายพาน 1 mm.
สายพานทุกชนิดที่กล่าวมานี้จะยืดตัวได้ดี ดังนั้นเมื่ออยู่ภายใต้แรงดึงจะยืดตัวทำให้เกิดสารสลิปบนล้อสายพาน (Pulley) ในทางปฏิบัติจึงมักจะยืดสายพานให้ตึงไว้ก่อนใช้งานทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการสลิปของสายพาน


การคลีพและการสลิปของสายพาน

ความแตกต่างระหว่างการคลีพและการสลิปของสายพานจะเห็นได้อย่างชัดเจนโดยการ พิจารณาการขับด้วยสายพาน เมื่อสายพานส่วนหนึ่งเคลื่อนที่เข้าหาล้อขับ สายพานจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนโค้งสัมผัสบนล้อสายพานด้วยความเร็วที่เท่ากับ ความเร็วของขอบล้อสายพาน (ถ้าแรงดึงในสายพานมากเพียงพอที่จะเอาชนะแรงภายนอกได้) เมื่อสายพานส่วนนี้ใกล้จะออกจากล้อสายพาน แรงดึงสายพานจะลดลงเท่ากับแรงดึงในด้านหย่อนเป็นผลให้สายพานหดสั้นลง ในทำนองเดียวกันสายพานที่เคลื่อนที่ตามออกไปก็จะหดสั้นลงด้วย ดังนั้นความเร็วจริงของสายพานที่เคลื่อนที่ออกจากล้อขับจะมีค่าน้อยกว่าความ เร็วขณะเข้าสู่ล้อสายพานปรากฎการณ์ที่สายพานเปลี่ยนความเร็วเป็นความเร็วที่ช้าลงบนล้อขับ และเพิ่มความเร็วบนล้อตาม เรียกว่า การคลีพ (Creep)

เมื่อแรงภายนอกเพิ่มขึ้นโดยไม่เพิ่มแรงดึงชั้นต้นในสายพาน สายพานทุกส่วนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดึงในตัวสายพานเมื่อเริ่มเข้าสู่โค้ง สัมผัส ถ้าแรงภายนอกมากเพียงพอส่วนโค้งที่เกิดการคลีพอาจจะเท่ากับส่วนโค้งสัมผัส ดังนั้นจึงเกิดการสลิป (Slip) ขึ้น การสลิปอาจเกิดขึ้นบนล้อสายพานเพียงล้อเดียว ส่วนการคลิพจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเท่ากันบนล้อสายพานทั้งสองล้อ การออกแบบการขับด้วยสายพานที่ดี เมื่อทำงานในสภาวะปกติไม่ควรมีการสลิป
แต่การคลิพจะเกิดขึ้นเสมอไม่ว่าจะเป็น สายพานชนิดใด การเกิดคลิพและสลิปทำให้ต้องสูญเสียกำลังงานและความเร็วแต่การสูญเสียที่เกิดจากการคลิพมีค่าน้อยมาก การสลิปอาจทำให้เกิดความร้อนมากเพียงพอที่จะทำให้ผิวหน้าของสายพานเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการสลิป ด้วยวิธีการดึงสายพานให้ตึงเพียงพอต่อการใช้งานเพื่อจำกัดการสลิป


CREDIT BY

http://www.cnctak.com/?cid=1962471