แนวโน้วของธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นระดับโลก
ทุกวันนี้เราจะพบว่าแนวโน้มของโลกเริ่มมีเงื่อนไขทางการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น เช่น ฉลากสิ่งแวดล้อม
คาร์บอนฟุตพริ้น เริ่มเข้มข้นมากขึ้น ทั้งในยุโรป และเอเชีย ก็เริ่มสร้างเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมา
โดยเฉพาะเทรนด์การสร้างความตระหนักในเรื่อง "การใช้อย่างคุ้มค่า" เช่น สินค้ารีไซเคิล สินค้าประหยัดพลังงาน และอื่นอีกมากมาย แนวโน้มการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต เราควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องไดบ้าง
ที่ปรึกษาด้านเทคนิค สถาบันฯสิ่งทอ ได้กล่าวถึงการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 1 วินาที
เกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งมีรายงานว่า 1 วินาที มีการเติบโตของประชากรราว 2.4 คนมีการบริโภคเนื้อสัตว์
6.9 ตัน และมีการผลิตรถยนต์ 1.3 คัน สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าทำไมเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เริ่มหมดไป เนื่องจากปริมาณคนเพิ่มขึ้น การบริโภคก็มากขึ้นตามไปด้วย
หน่วยงานสากลระดัลโลก UNEP ได้เปิดเผยหลังจากที่ได้มีการประชุมที่ Rio บลาซิล มีการนำเสนอประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ศตวรรษ 21 เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องทำอย่างไร
ซึ่งก็พบว่า "การผลิตที่ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ผู้บริโภคมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่" เริ่มมีประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ สังคมจะต้องร่วมมือกันไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นแล้วการบริโภคจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยมีข้อสรุปว่าจะต้อง "เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการบริโภค" ซึ่งมาตราการนี้เริ่มเกิดขึ้นทั่วโลก
แล้วและกำลังส่งผลกระทบถึงผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดสายซัพพลายเชน (Supply Chain)
บริษัทค้าปลีกชั้นนำระดับโลกหลายรายออกมาประกาศและก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เช่น วอลมาร์ท (Walmart) ให้ความสำคัญเรื่องใช้พลังงานหมุนเวียน (Reneweble Energy)
การลดของเสีย (Zero Waste) สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้าน TESCO ประกาศให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน โดยตั้งเป้าภายในปี 2050 จะเป็น Zero-Carbon ซึ่งปัจจุบันร่วมดำเนินการร่วมกับซัพพลายเออร์ทั่วโลกแล้ว
นอกจากนี้ บริษัทเสื้อผ้าชั้นนำทั่วโลกต่างก็สื่อสารการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางสำคัญ เช่น อาดิดาส
ได้ประกาศว่าจะลด Environmental Footprint ลง 15% ภายในปี 2015
บริษัทแฟชั่นแบร์นดังระดับโลกทั้งหลายแทบทุกแบร์น ไม่ว่าจะเป็น อามานี่ (Armani) ซาร่า (Zara)
ลีวาย (Levi's) ซีแอน์เอ (C&A) มาร์คแอนสเปนเซอร์ (Marks & Spencer) แมงโก (Mango) และอีกหลายแบร์น พบว่ามีปริมาณสารเคมีที่ตกค้างในปริมาณที่เกินมาตรฐาน จึงกลายเป็นชนวนที่กลุ่มกรีน
พีชรุกขึ้นมาทำโปรเจคระดับโลกเพื่อลดการปล่อยมลพิษให้เหลือศูนย์ (Zero Discharge)
สำหรับสารเคมีอันตรายทุกชนิดให้หมดไป โดยยุติการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในวงจรการผลิตสินค้า
และขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฎิบัติในตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain)
กรีนพีชจึงประกาศจับมือทุกแบร์นร่วมขจัดสารเคมีตกค้าง โครงการรณรงค์ระดับโลก ตลอดปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแบร์นซาร่า (Zara) ออกมาทำแคมเปญชื่อว่า หยุดแฟชั่นสารพิษ เมื่อปลายปี
2555 รวมไปถึงแบร์นต่างๆใน Inditex Group ด้วย โดยมีการรณรงค์และตรวจสอบโรงงานผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ (Sourcing) กับโรงงานหรือซัพพลายเออร์ (Suppliers) ที่ได้รับการรับรองในเรื่องการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิิ่งแวดล้อม
การแสดงเจตจำนงของซาร่า (Zara) ที่จะมุ่งไปสู่การเป็นแฟชั่นปลอดสารพิษ เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า
แบร์นอื่นๆ ก็มไม่ควรจะปฏิเสธ รวมไปถึงผู้ประกอบการสิ่งทอต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น