วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

( Just-In-Time : JIT ) ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี



       












               ในกิจการอุตสาหกรรมการผลิตสินค้านั้น แต่เดิมมักจะมีลักษณะการผลิตแบบดั้งเดิม
( Traditional Production ) คือ จะมีสินค้าที่ผลิตเตรียมไว้เพื่อขาย ซึ่งในการผลิต ในลักษณะนี้้จะทำให้
มีต้นทุนการผลิตที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการผลิตแบบใหม่ คือ การผลิตแบบทันเวลาพอดี
( JUST IN TIME ) หรือที่เรียกว่า "การผลิตแบบ JIT" ซึ่งการผลิตแบบนี้นับว่ามีความสำคัญในการบริหารการผลิต และเพิ่มผลการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก โดยหลักการของการผลิตแบบ JIT นั้น ก็เป็นเรื่องง่ายๆ และ ธรรมดา กล่าวคือ โรงงานจะทำการผลิตสินค้าให้เสร็จและจะส่งออกไปเมื่อมีการขายเกิดขึ้นเท่านั้น และวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆ ก็จะถูกสั่งซื้อเข้ามาก็ต่อเมื่อมีความต้องการเท่านั้นซึ่งเมื่อเราจะเปรียบเทียบลักษณะการผลิตแบบ JIT กับการผลิตแบบดั้งเดิม โดย
ทั่วๆ ไปแล้วจะเห็นว่าลักษณะการผลิตแบบดั้งเดิมจะเน้นให้มีการผลิตครั้งละมากๆ (Mass Production) 
เพราะถือว่าการผลิตยิ่งมาก จะทำให้เกิดการประหยัดมากที่สุด ในขณะที่การผลิตแบบ JIT จะผลิตเมื่อ
สินค้านั้นถูกต้องการเท่านั้น
               โดยหลักการของการผลิตแบบ JIT คือ ต้องการที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
( Carrying Cost ) ต่ำที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ งานระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้น โดยหลักการ
ของ JIT แล้ว ปริมาณที่จะประหยัดที่สุดก็คือ การผลิต 1 ต่อ 1 หมายความว่า เมื่อผลิตได้ 1 หน่วยก็จะต้องขายได้ 1 หน่วย เช่นกัน แต่ยังไรก็ตามคิดว่าก็ยังไม่มีโรงงานใดในโลกที่จะสามารถทำได้อย่าง
สมบูรณ์แบบ สำหรับการผลิตแบบ JIT นอกจากนี้ในลักษณะการผลิตแบบ JIT จึงต้องพยายามที่จะให้การผลิตนั้นมีคุณภาพมากที่สุดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการผลิตจะเป็นลักษณะที่มีการผลิตเมื่อมีความต้องการในสินค้าเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญจึงทำให้ระบบ
JIT จึงต้องใช้ควบคู่ไปกับการควบคุมคุณภาพที่สมบูรณ์แบบ ( Total Quality Control ) สำหรับลักษณะ
โดยทั่วไปของ TQC นั้น จะเน้นที่มีการระมัดระวังในการผลิตของคนงาน คนงานทุกคนจะต้องรักษาคุณภาพของสินค้าที่ตนเองผลิตอย่างเต็มที่ เพราะถ้าสินค้าที่ผลิตขึ้นมาไม่มีคุณภาพแล้วก็อาจจะทำให้
ไม่สามารถที่จะมีการผลิตต่อไปได้
               จากการผลิตแบบดั้งเดิม และการผลิตแบบ JIT นั้น ต่างก็มีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้น เมื่อเราจะมาพิจารณาถึงความแตกต่างของระบบการผลิตทั้ง 2 ชนิดมี้แล้วก็สามารถที่จะพิจารณาได้ดังนี้คือ



1. ในลักษณะของการผลิต

               สำหรับในเรื่องของลักษณะของการผลิตนั้น เมื่อพิจารณาการผลิตแบบดั้งเดิมจะเห็นว่า ใน
ลักษณะการผลิตแบบดั้งเดิม จะเน้นที่ความสมดุลของสายการผลิต คือ จะมีการแบ่งงานออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ และมีการแบ่งงานกันทำตามลักษณะของความชำนาญ ในขณะที่ลักษณะการผลิตแบบ JIT
นั้น จะมุ่งที่ความคล่องตัวของการผลิต จึงมีลักษณะการผลิตแบบ MANUFACTURING CELL ซึ่งคนงานจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้หมดทุกอย่างในกระบวนการผลิต


2. ในเรื่องกลยุทธ์ในการผลิต

               กลยุทธ์ในการผลิตของการผลิตแบบดั้งเดิม จะมีลักษณะของการกำหนดสายงานผลิตที่แน่นอนมั่นคง โดยจะให้สามารถทำการผลิตได้นานๆ ตรงกันข้ามกับการผลิตแบบ JIT ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงการผลิตได้ทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด


3. การมอบหมายงาน

               การผลิตแบบดั้งเดิมมักจะมีการมอบหมายงานให้คนงานทำเฉพาะงานที่ตนถนัด โดยไม่มีการเปลี่ยนงาน เพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง ในขณะที่การผลิตแบบ JIT มุ่งให้คนงานมีความคล่องตัวในการทำงาน โดยสามารถเปลี่ยนงานจากงานที่หนึ่งทำอีกงานหนึ่งได้ทันที่ที่ได้รับมอบหมาย


4. การเก็บสินค้าคงเหลือ

               เรื่องการผลิตให้มีสินค้าคงเหลือนั้น สำหรับการผลิตแบบดั้งเดิมนั้นจะมีการวางแผนการผลิต
เพื่อให้มีสินค้าพอที่จะขาย โดยมีการผลิตเก็บไว้ใช้สำหรับแก้ปัญหา ในกรณีที่มีความต้องการมากขึ้นและเพื่อแก้ปัญหาเมื่อต้องมีการหยุดงานเนื่องจากเครื่องจักรเสีย ในขณะที่ระบบการผลิตแบบ JIT 
จะไม่มีการผลิตสินค้าเก็บไว้ แต่จะอาศัยคุณภาพในการใช้เครื่องจักร และการบำรุงรักษา เพื่อไม่ให้เครื่องจักรเสียเมื่อต้องปฏิบัติงาน


5. การใช้เทคนิคที่ซับซ้อนยุ่งยาก

               ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมมักจะมีการใช้เทคนิคการวางแผนการผลิต และมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อกำหนดการผลิต ในขณะที่การผลิตแบบ JIT มุ่งที่จะอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนงานในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการติดขัดของการผลิต รวมถึงการวางแผนการผลิตจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขาย ในขณะที่การวางแผนการผลิตแบบดั้งเดิม จะกระทำก่อนที่มีการขายเกิดขึ้น


6. อัตราการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ

               ในระบบการผลิตแบบดั้งเดิม จะมีการผลิตในอัตราความเร็วที่คงที่ เนื่องจากได้มีการวางแผนการผลิตไว้ล่วงหน้า จากความต้องการสินค้าตลอดทั้งปี นอกจากนี้ก็จะมีหน่วยตรวจสอบคุณภาพ ทำการตรวจสอบงานชิ้นที่ไม่ได้คุณภาพ แล้วส่งไปแก้นอกสายการผลิต ขณะที่การผลิตแบบ JIT
มักจะผลิตด้วยอัตราความเร็วสูง และจะทำการตรวจสอบคุณภาพด้วยตนเอง และแก้ไขงานให้ได้คุณภาพทันที โดยใช้ระบบการควบคุมคุณภาพ แบบ TQC/TQM


7. อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิต

               สำหรับการผลิตแบบดั้งเดิมนั้นมักจะมีการจัดวางอุปกรณ์ตามสถานีการผลิต และมักจะมีการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่และทันสมัย โดยพยายามที่จะใช้งานให้เต็มที่ แต่ระบบการผลิตแบบ JIT นั้นจะจัดอุปกรณ์การผลิตให้อยู่ติดกันและเครื่องมือที่ใช้ก็จะสามารถสร้างได้เองที่โรงงาน


8. จำนวนการผลิต

               การผลิตแบบดั้งเดิมมักจะนิยมทำการผลิตในลักษณะการผลิตเป็นจำนวนมากๆ
( MASS PRODUCTION ) เพื่อให้มีความประหยัดมากที่สุดในการผลิต ขณะที่ระบบการผลิตแบบ JIT
จะทำการผลิตจำนวนน้อยๆ และให้ทันต่อความต้องการ โดยพยายามที่จะให้บรรลุเป้าหมายที่ว่า การผลิตที่ประหยัดที่สุดเท่ากับ 1 หน่วย


9. ระบบการสั่งซื้อวัตถุดิบ

               เรื่องสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต โรงงานที่ใช้ระบบการผลิตแบบดั้งเดิม มักจะมีการสั่งซื้อวัสดุดิบมาเก็บไว้ เพื่อเตรียมการผลิตเพื่อป้องกันมิให้เกิดความขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งในวิธีนี้จะทำให้มีต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษาเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามได้พยายามมีการบริหาร
การสั่งซื้อวัสดุดิบเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุดเช่นใช้การ EOQ ( Economic Order Quantity ) ส่วนระบบการผลิตแบบ JIT จะมีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาเฉพาะที่ต้องการใช้เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดต้นทุนเกี่ยวกับการเก็บรักษาแต่ก็จะทำให้มีการสั่งซื้อบ่อยครั้งมาก ซึ่งการลดต้นทุนในการสั่งซื้อก็สามารถแก้ไข โดยมีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวกับพ่อค้าจดส่งวัตถุดิบ และพ่อค้าส่งจะต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดีเกี่ยวกับคุณภาพ และปริมาณที่อุตสาหกรรมต้องการได้ทันที

               จากความแตกต่างของระบบการผลิตแบบดั้งเดิม ( trADITIONAL PRODUCTION ) กับระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี ( JUST-IN-TIME PRODUCTION ) ตามที่ได้อธิบายข้างต้นนั้นก็พอจะสรุปความแตกต่างได้ดังนี้


อย่างไรก็ตาม ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมและระบบการผลิตแบบ JIT ถึงแม้จะมีข้อแตกต่างกันมากมาย
ก็ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งยังคงใช้ระบบการผลิตแบบดั้งเดิม และก็มีอีกหลายโรงงานที่ใช้ระบบ JIT ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและข้อจำกัดต่างๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดระบบการผลิตที่จะนำมาใช้ในโรงงาน ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงลักษณะที่ดีของระบบการผลิตแต่ละชนิดเราก็สามารถจะสรุปได้ดังนี้

ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบการผลิตแบบ JIT

1. ด้านต้นทุนการผลิตและลดขนาดการผลิต

              ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะทำการผลิตเมื่อมีการสั่งซื้อเท่านั้น ดังนั้นจะมีการลดต้นทุน 
การเก็บรักษาสินค้าและวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังลดต้นทุนในสินค้าที่ผลิตมาแล้วไม่ได้จำหน่ายออกไป
ดังนั้นตามทฤษฎีแล้ว ระบบการผลิตสินค้าแบบ JIT จะมีต้นทุุนการผลิตที่ต่ำที่สุดด้วย

2. ด้านคุณภาพของสินค้า

               ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น มักจะใช้ควบคู่ไปกับระบบการควบคุมคุณภาพอย่างสมบูรณ์
(TQC/TQM) ดังนั้น จึงทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพดี ซึ่งจะต้องไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย
ในขบวนการผลิตตามแบบ ของ JIT

3. ลดการลงทุนในสินทรัพย์ประจำ

               ในระบบการผลิตแบบ JIT จะไม่มีการเก็บสินค้าไว้และไม่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาเก็บไว้ในโกดัง
หรือคลังเก็บสินค้า ดังนั้น ทำให้กิจกรรมสามารถที่จะประหยัดเงินลงทุนในสินทรัพย์ประจำเหล่านี้ได้

4. ทำให้คนงานมีความรับผิดชอบสูงและมีความสามารถทั่วไป

               ระบบการผลิตแบบ JIT เน้นที่คนงานจะต้องมีความรับผิดชอบสูงในเรื่องของการผลิตสินค้า
ให้มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพราะถ้าคนงานคนใดผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพก็จะทำให้ไม่สามารถทำการผลิตต่อไปได้นอกจากนี้คนจะต้องมีความสามารถโดยทั่วไป เกี่ยวกับการผลิตและขบวนการผลิต ดังนั้นคนงาน
จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบการผลิตแบบนี้

5. ทำให้ลดเวลาเตรียมการผลิต

               ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะมีระบบการผลิตที่ง่ายๆ และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน ดังนั้นจึงทำให้เวลาในการเตรียมการผลิตลดลง ทำให้ไม่ต้องเสียต้นทุนในการเตรียมการผลิต


ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบผลิตแบบดั้งเดิม ( trADITIONAL PRODUCTION )


1. ในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อน

สำหรับกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงและมีความยุ่งยากซับซ้อน การใช้ระบบ
การผลิตแบบ JIT จึงดูจะไม่มีความเหมาะสมเพราะระบบ JIT มักจะใช้ระบบที่ผลิตง่ายๆ และไม่ต้อง
อาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงอะไร

2. ถ้าเป็นกรณีของการผลิตสินค้าแบบ MASS PRODUCTION

ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการผลิตในลักษณะ MASS PRODUCTION แล้ว ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมจะมีความได้เปรียบกว่า เพราะต้องอาศัยวัตถุดิบจำนวนมาก ซึ่งระบบ JIT จะทำการผลิตแบบ 
MASS PRODUCTION ไม่ได้

3. มีสินค้าจำหน่ายได้ทันทีที่ต้องการ

การผลิตแบบดั้งเดิม จะมีการผลิตสินค้าตามตารางการผลิตและมักจะมีการผลิตสินค้าเหลือเก็บไว้ใน
คลังสินค้า เพื่อสำรองไว้ในกรณีที่มีลูกค้าต้องการอย่างกระทันหัน หรือสำรองไว้ในกรณีที่เครื่องจักร
ไม่สามารถทำการผลิตได้

4. ไม่ก่อให้เกิดการว่างงาน

กรณีที่ไม่มีการสั่งซื้อจากลูกค้า ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมก็จะไม่ทำให้คนงานเกิดการว่างงาน
เพราะจะมีการผลิตไปเรื่อยๆ เพื่อเตรียมไว้จำหน่ายภายหลัง ถึงแม้ว่าระบบการผลิตแบบ 
JUST-IN-TIME จะบอกว่าถ้าไม่มีการผลิตก็สามารถนำคนงานไปใช้งานอย่างอื่นได้ อย่างไรก็ตามคิดว่าก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ทั้งหมด

5. สามารถวางแผนการผลิตได้ล่วงหน้าได้แน่นอน

ในการผลิตแบบ JUST-IN-TIME ทำให้ไม่สามารถที่จะจัดทำแผนการผลิตและงบประมาณการขายได้
อย่างแน่นอน ซึ่งทำให้ระบบการควบคุมและจัดผลงานทำได้ยากยิ่งขึ้น

6. สินค้าที่มีความต้องการตามฤดูกาล

ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะมีความต้องการตามช่วงฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่งเท่านั้น การใช้ระบบการผลิตแบ 
JIT ดูจะไม่ให้ผลดีเลย เพราะจะทำให้เกิดการว่างงานและไม่มีการผลิตในช่วงอื่นๆ สินค้าผลิตไม่ทัน
กับความต้องการ ดังนั้นประเด็นนี้ ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมดูจะมีความได้เปรียบมากกว่า

7. สินค้าที่มีราคาถูกและมีหลายรูปแบบ

ถ้าสินค้าที่ทำการผลิตมีราคาถูกและมีหลายรูปแบบแล้ว การผลิตแบบ JUST-IN-TIME ดูจะใช้ไม่ได้ผล
เพราะแทนที่จะทำให้สินค้ามีต้นทุนต่ำกับจะทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นมากกว่า และถ้าสินค้านั้นจำเป็นต้อง
มีหลายๆ รูปแบบ ระบบ JIT จะไม่สามารถตอบสนองได้ทันที


ข้อจำกัดในการใช้ระบบ JIT ในเมืองไทย

               เมื่อเราได้ทราบถึงลักษณะโดยทั่วไปของระบบการผลิตแบบ JUST-IN-TIME และระบบการ
ผลิตแบบดั้งเดิม ( trADITIONAL PRODUCTION ) ตลอดข้อได้เปรียบของระบบการผลิตแต่ละชนิด
แล้วปัญหาที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในเมืองไทยคิดที่จะนำระบบ
การผลิตแบบ JUST-IN-TIME เข้ามาใช้บ้างจะมีปัญหาอย่างไร หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วเห็นว่าการใช้ระบบการผลิตทุกระบบย่อมจะต้องมีข้อจำกัดและปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือเราจะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้หรือไม่  อย่างไร สำหรับการผลิตแบบดั้งเดิม 
(trADITIONAL PRODUCTION) หรือระบบการผลิตที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในเมืองไทยขณะนี้ ก็คงจะได้รับ
การแก้ไขปัญหามากแล้วจนทำให้มีการใช้ระบบการผลิตดังกล่าวอย่างแพร่หลาย แต่ถ้ามีโรงงานใดโรง
งานหนึ่งที่มีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนรูปแบบของการผลิตมาเป็นลักษณะการผลิตแบบ JIT แล้ว
ก็อาจจะต้องประสบปัญหาเหล่านี้ คือ 


1. ในเรื่องระบบการคมนาคมขนส่ง

               เป็นเรื่องที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะไม่มีการผลิตจนกว่าจะได้รับคำสั่งซื้อ และจะไม่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบเข้ามาเก็บไว้เพื่อรอการผลิต ดังนั้นในระบบการผลิตแบบ
JIT นั้น จะมีลักษณะของการสั่งซื้อวัตถุดิบเมื่อมีความต้องการ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ต้องมีการสั่งซื้อ
วัตถุดิบบ่อยครั้งๆ ละจำนวนไม่มาก สิ่งหนึ่งที่จะต้องดีพอที่จะทำให้การขนส่งวัตถุดิบรวดเร็วและทันความต้องการก็คือ ระบบการขนส่งคมนาคม ซึ่งในเรื่องนี้ในประเทศไทยคงจะต้องประสบปัญหาการ
ขนส่งอย่างแน่นอน เช่น การจราจรติดขัดอยู่เป็นประจำ ซึ่งเหตุนี้อาจจะทำให้การขนส่งไม่ได้รับทันที
ที่ต้องการ


2. ในเรื่องความสามารถของผู้จัดส่งวัตถุดิบ

               จากที่ทราบอยู่แล้วว่าระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะไม่มีการสั่งวัตถุดิบมาเก็บไว้ในคลังสินค้า
แต่จะใช้การสั่งเข้ามาเมื่อต้องการใช้ทำการผลิต ดังนั้น ความพร้อมและความสามารถของผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงมีความสำคัญมากต่อระบบการผลิตแบบนี้ นอกจากนี้ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะต้องมีความรับผิดชอบ
อย่างมากต่อคุณภาพของวัตถุดิบส่วนใหญ่ในเมืองไทยยังไม่สามารถที่จะมีความพร้อมและความรับผิดชอบมากถึงขนาดนี้


3. ความรับผิดชอบของคนงาน

               คนงานนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดของระบบการผลิตแบบ JIT เพราะในระบบการผลิต
แบบนี้ คนงานจะต้องมีความรับผิดชอบสูงมากต่อการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพดีที่สุด โดยแทบจะไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้นเลย เพราะถ้าคนงานคนใดผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถทำการ
ผลิตต่อไปได้เลยจึงต้องนำกลับมาทำใหม่ทันที นอกจากนี้แล้วคนงานจะต้องพร้อมที่จะช่วยงานส่วนอื่นๆ ได้ทันทีที่ได้รับมอบหมายหรือเมื่อตนว่างจากการผลิต ดังนั้น คนงานจึงต้องมีประสิทธิภาพสูงสามารถทำงานได้โดยทั่วไป ซึ่งประเด็นนี้ก็อาจจะกลายมาเป็นปัญหาตัวสำคัญ ก็คือ ในการที่โรงงาน
อุตสาหกรรมในประเทศไทยคิดที่จะนำระบบ JIT เข้ามาใช้ในการผลิต ก็จะต้องคำนึงถึงลักษณะนิสัย
ของคนไทยด้วย เนื่องจากโดยลักษณะนิสัยของคนไทยโดยทั่วไปยังขาดความรับผิดชอบที่สูงพอและ
มักจะทำงานตามหน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น


สรุปการผลิตแบบทันเวลาพอดี ( JUST-IN-TIME )

1. การผลิตแบบทันเวลาพอดี ( JIT ) จะผลิตเมื่อสินค้านั้นถูกต้องการเท่านั้น
2. การให้ความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ จึงทำให้ระบบ JIT ต้องใช้ควบคุมคุณภาพที่
สมบูรณ์แบบ (Total Quality Control/TQC)


สรุปข้อได้เปรียบของการใช้ระบบการผลิตแบบ JIT

1. ด้านต้นทุนการผลิตและลดขนาดการผลิต
2. ด้านคุณภาพของสินค้า
3. ลดการลงทุนที่สินทรัพย์ประจำ
4. ทำให้คนงานมีความรับผิดชอบสูงและมีความสามารถทั่วไป
5. ทำให้ลดเวลาเตรียบการผลิต


สรุปข้อจำกัดในการใช้ระบบ JIT ในเมืองไทย

1. ในเรื่องคมนาคมขนส่ง
2. ในเรื่องความสามารถของผู้จัดส่งวัตถุดิบ
3. ความรับผิดชอบของคนงาน









วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นระดับโลก

Global Business Trend

แนวโน้วของธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นระดับโลก


ทุกวันนี้เราจะพบว่าแนวโน้มของโลกเริ่มมีเงื่อนไขทางการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น เช่น ฉลากสิ่งแวดล้อม
คาร์บอนฟุตพริ้น เริ่มเข้มข้นมากขึ้น ทั้งในยุโรป และเอเชีย ก็เริ่มสร้างเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมา 
โดยเฉพาะเทรนด์การสร้างความตระหนักในเรื่อง "การใช้อย่างคุ้มค่า" เช่น สินค้ารีไซเคิล สินค้าประหยัดพลังงาน และอื่นอีกมากมาย แนวโน้มการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต เราควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องไดบ้าง




ที่ปรึกษาด้านเทคนิค สถาบันฯสิ่งทอ ได้กล่าวถึงการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 1 วินาที
เกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งมีรายงานว่า 1 วินาที มีการเติบโตของประชากรราว 2.4 คนมีการบริโภคเนื้อสัตว์
6.9 ตัน และมีการผลิตรถยนต์ 1.3 คัน สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าทำไมเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เริ่มหมดไป เนื่องจากปริมาณคนเพิ่มขึ้น การบริโภคก็มากขึ้นตามไปด้วย


หน่วยงานสากลระดัลโลก UNEP ได้เปิดเผยหลังจากที่ได้มีการประชุมที่ Rio บลาซิล มีการนำเสนอประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ศตวรรษ 21 เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องทำอย่างไร
ซึ่งก็พบว่า "การผลิตที่ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ผู้บริโภคมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่" เริ่มมีประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ สังคมจะต้องร่วมมือกันไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นแล้วการบริโภคจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยมีข้อสรุปว่าจะต้อง "เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการบริโภค" ซึ่งมาตราการนี้เริ่มเกิดขึ้นทั่วโลก
แล้วและกำลังส่งผลกระทบถึงผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดสายซัพพลายเชน (Supply Chain)


บริษัทค้าปลีกชั้นนำระดับโลกหลายรายออกมาประกาศและก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เช่น วอลมาร์ท (Walmart) ให้ความสำคัญเรื่องใช้พลังงานหมุนเวียน (Reneweble Energy) 
การลดของเสีย (Zero Waste) สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้าน TESCO ประกาศให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน โดยตั้งเป้าภายในปี 2050 จะเป็น Zero-Carbon ซึ่งปัจจุบันร่วมดำเนินการร่วมกับซัพพลายเออร์ทั่วโลกแล้ว 


นอกจากนี้ บริษัทเสื้อผ้าชั้นนำทั่วโลกต่างก็สื่อสารการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางสำคัญ เช่น อาดิดาส
ได้ประกาศว่าจะลด Environmental Footprint ลง 15% ภายในปี 2015


บริษัทแฟชั่นแบร์นดังระดับโลกทั้งหลายแทบทุกแบร์น ไม่ว่าจะเป็น อามานี่ (Armani) ซาร่า (Zara) 
ลีวาย (Levi's) ซีแอน์เอ (C&A) มาร์คแอนสเปนเซอร์ (Marks & Spencer) แมงโก (Mango) และอีกหลายแบร์น พบว่ามีปริมาณสารเคมีที่ตกค้างในปริมาณที่เกินมาตรฐาน จึงกลายเป็นชนวนที่กลุ่มกรีน
พีชรุกขึ้นมาทำโปรเจคระดับโลกเพื่อลดการปล่อยมลพิษให้เหลือศูนย์ (Zero Discharge) 
สำหรับสารเคมีอันตรายทุกชนิดให้หมดไป โดยยุติการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในวงจรการผลิตสินค้า
และขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฎิบัติในตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) 


กรีนพีชจึงประกาศจับมือทุกแบร์นร่วมขจัดสารเคมีตกค้าง โครงการรณรงค์ระดับโลก ตลอดปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแบร์นซาร่า (Zara) ออกมาทำแคมเปญชื่อว่า หยุดแฟชั่นสารพิษ เมื่อปลายปี
2555 รวมไปถึงแบร์นต่างๆใน Inditex Group ด้วย โดยมีการรณรงค์และตรวจสอบโรงงานผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ (Sourcing) กับโรงงานหรือซัพพลายเออร์ (Suppliers) ที่ได้รับการรับรองในเรื่องการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิิ่งแวดล้อม


การแสดงเจตจำนงของซาร่า (Zara) ที่จะมุ่งไปสู่การเป็นแฟชั่นปลอดสารพิษ เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า
แบร์นอื่นๆ ก็มไม่ควรจะปฏิเสธ รวมไปถึงผู้ประกอบการสิ่งทอต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ



วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความสำคัญของตลับลูกปืน






                    เครื่องมืลกลแทบทุกชนิด จะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญหลักๆ คือ ตลับลูกปืน ซึ่งเป็น

อุปกรณ์ที่เป็นที่รองรับประคองการหมุนของเพลางาน (Work Spindle) และเพลาชุดเฟืองทดรอบ

(Shaft) นอกจากนี้ ตลับลูกปืนยังทำหน้าที่ถ่ายทอดหรือส่งผ่านแรงที่เกิดจากงานบนเพลาให้ผ่านลงไปสู่

ฐานเครื่อง หากเปรียบหน้าที่ทำงานของ ตลับลูกปืน กับชิ้นส่วนอื่นๆ ของเครื่องมือกลแล้ว จะเห็นว่า

ตลับลูกปืน เป็นจุดวิกฤตจุดหนึ่งของเครื่องมือกล เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่หลายๆ อย่าง

ในขณะเดียวกัน ดังนั้นชิ้นส่วนที่หมดสภาพการใช้งานหรือเสียหายจึงมักจะเกิดกับ ตลับลูกปืน 

การเลือกชนิด ตลับลูกปืน การถอดและประกอบ ตลับลูกปืน และการบำรุงรักษา จึงสำคัญอย่างยิ่ง

ในงานเครื่องมือกล


แล้วทำไมถึงต้องใช้ตลับลูกปืน 


                    ตลับลูกปืน ทำหน้าที่ลดความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส ทำให้ความสามารถลดปริมาณ

พลังงานที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักรและนอกจากความเสียดทานที่ลดลงแล้ว จึงช่วยเพิ่ม

สมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร ลดการสึกหรอ มีผลให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น