วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การหล่อลื่น




วัตถุประสงค์ของการหล่อลื่น


วัตถุประสงค์หลักของการหล่อลื่น ก็เพื่อลดความเสียดทานและการสึกหรอภายในแบริ่งส์ที่ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียหายก่อนเวลาอันควร ผลการหล่อลื่นอาจสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้


ลดความเสียดทาน และการสึกหรอ


การสัมผัสของโลหะโดยตรงระหว่างวงแหวน ลูกกลิ้งและรัง (ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานของแบริ่งส์)
ถูกป้องกันด้วยฟิล์มน้ำมันซึ่งลดความเสียดทานและการสึกหรอที่บริเวณพื้นที่สัมผัส


ยืดอายุความล้าในการกลิ้ง (Rolling fatiguie life)


อายุความล้าในการกลิ้งของแบริ่งส์ ขึ้นอยู่กับความหนืด และความหนาของฟิล์ม ระหว่างพื้นที่สัมผัสการกลิ้ง ความหนาของฟิล์มมากๆ ระดับหนึ่งช่วยยืดอายุความล้า แต่อายุจะสั้นถ้าความหนืด
น้ำมันต่ำเกินไปทำให้ความหนาของฟิล์มไม่เพียงพอ


การแผ่กระจายความร้อนจากการเสียดทานและการหล่อเย็น


การหล่อลื่นแบบหมุนวน (Circulation Lubrication) อาจถูกใช้เพื่อนำพาความร้อนจากความเสียดทาน หรือความร้อนที่ส่งผ่านจากภายนอกออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้แบริ่งส์ร้อนเกินไป และไม่ให้น้ำมันเสื่อม


อื่นๆ


การหล่อลื่นที่พอเพียง ยังช่วยป้องกันวัสดุแปลกปลอมไม่ให้เข้าแบริ่งส์ และป้องกันการกัดกร่อน
หรือสนิม


วิธีการหล่อลื่นแบบต่างๆ


วิธีการหล่อลื่นแบบต่างๆ อันดับแรกแบ่งได้เป็นการหล่อลื่นด้วยน้ำมัน และจาระบี สมรรถนะแบริ่งส์ที่น่าพอใจ สามารถบรรลุได้โดยการใช้วิธีการหล่อลื่นที่ซึ่งเหมาะสมที่สุดกับสภาวะการทำงาน
และชนิดงานเฉพาะนั้นๆ โดยทั่วๆไปน้ำมันมีประสิทธิภาพการหล่อลื่นที่ดีกว่าอย่างไรก็ตามการหล่อ
ลื่นด้วยจาระบียอมให้มีโครงสร้างรอบๆ แบริ่งส์ที่ง่ายกว่า การเปรียบเทียบการหล่อลื่นน้ำมัน และจาระบี

ตารางการเปรียบเทียบการหล่อลื่นด้วยจาระบีและน้ำมัน


หัวข้อ
หล่อลื่นด้วยจาระบี
หล่อลื่นด้วยน้ำมัน
โครงสร้างตัวเรือนและวิธีการซีล
ง่าย
อาจซับซ้อน ต้องมีการดูแล
ใกล้ชิด
ความเร็ว
ขีดจำกัดความเร็วอยู่ที่ 65-80 %
ของการหล่อลื่นด้วยน้ำมัน
ขีดจำกัดความเร็วสูงกว่า
ผลกระทบด้านการหล่อเย็น
ไม่ดี
สามารถถ่ายเทความร้อน
โดยใช้การหมุนวน
การไหล
ไม่ดี
ดี
การเปลี่ยนสารหล่อลื่นทั้งหมด
บางครั้งยาก
ง่าย
การเอาสิ่งสกปรกออก
เป็นไปไม่ได้
ง่าย
การปนเปื้อนจากการรั่วไหล
บริเวณโดยรอบไม่ค่อย
ปนเปื้อนจากการรั่ว
มักจะรั่วหากไม่มีวิธีการที่
เหมาะสม ไม่เหมาะสมถ้า
ต้องหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน
ภายนอก


การหล่อลื่นด้วยจาระบี


ปริมาณจาระบี


ปริมาณจาระบีที่บรรจุในตัวเรือนขึ้นอยู่กับรูปแบบตัวเสื้อ และพื้นที่ว่าง คุณลักษณะของจาระบีและอุณหภูมิแวดล้อม ตัวอย่างเช่น แบริ่งส์สำหรับเพลาของเครื่องมือกล ซึ่งความเที่ยงตรงอาจถูกทำ
ให้เสียไปด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นปริมาณของจาระบีสำหรับแบริ่งส์ธรรมดาทั่วไปกำหนดได้ดังนี้ ปริมาณจาระบีที่เพียงพอ ต้องบรรจุอยู่ภายในแบริ่งส์ รวมถึงผิวหน้าร่องนำของ
รังแบริ่งส์ (Cage guide face) พื้นที่ว่างภายในตัวเสื้อที่จะบรรจุจาระบี ขึ้นอยู่กับความ เร็วดังนี้


½  ถึง ⅔  ของพื้นที่ว่าง….     เมื่อความเร็วน้อยกว่า 50%
                                              ของขีดจำกัดความเร็ว


⅓  ถึง ½  ของพื้นที่ว่าง….     เมื่อความเร็วเกินกว่า 50%
                                              ของขีดจำกัดความเร็ว


การเปลี่ยนจาระบี


เมื่อได้บรรจุจาระบีแล้ว โดยปกติไม่จำเป็นต้องเติมอีกนาน อย่างไรก็ตามในสภาวะการทำงานที่
เลวร้ายควรจะต้องเติมหรือเปลี่ยนจาระบีใหม่ในกรณีเหล่านั้น ตัวเสื้อจาระบีควรได้รับการออกแบบ
เพื่อให้เติมและเปลี่ยนจาระบีได้ง่าย หากช่วงเวลาเติมจาระบีสั้นควรจัดให้มีช่องเติมและปล่อยจาระบี ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อจาระบีที่เสื่อมสภาพจะถูกแทนที่ด้วยจาระบีใหม่ ตัวอย่างเช่น
ช่องว่างของตัวเสื้อในด้านบรรจุจาระบีสามารถแบ่งได้เป็นหลายส่วนตัวแผ่นกั้นจาระบี  ด้านที่กั้นไว้
ค่อยๆ ผ่านไปยังแบริ่งส์ และจาระบีเก่าจะถูกไล่ออกผ่านวาล์วจาระบี ถ้าวาล์วจาระบีไม่มีช่อง
ว่างด้านปล่อยจาระบีจะถูกทำให้โตกว่าด้านที่กั้น เพื่อสามารถกักจาระบีเก่าไว้ซึ่งต้องนำออกไปตาม
ระยะเวลาโดยเปิดฝาครอบออก


ช่วงเวลาการเติม


ถึงแม้ว่าจะใช้จาระบีคุณภาพสูง ก็ยังคงมีการเสื่อมสภาพของคุณสมบัติจาระบีไปตามเวลา ดังนั้นการเติมตามคาบเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็น แสดงช่วงเวลาการเติมจาระบี สำหรับแบริงส์แต่ละชนิดซึ่ง
ทำงานที่ความเร็วต่างๆ กันตัวเลขเหล่านี้จะนำไปใช้ได้ เมื่ออุณหภูมิแบริ่งส์น้อยกว่า 70C ช่วง
เวลาการเติมต้องลดลงครึ่งหนึ่งเมื่ออุณหภูมิแบริงส์สูงขึ้นทุกๆ 15C


การหล่อลื่นด้วยน้ำมัน


การหล่อลื่นแบบอ่างน้ำมัน (Oil bath lubrication)


การหล่อลื่นแบบอ่างน้ำมันเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างกว้างขวางกับงานความเร็วต่ำหรือปานกลาง ระดับ
น้ำมันควรอยู่ที่ศูนย์กลางของลูกกลิ้งที่อยู่ต่ำที่สุด และควรมีเกจวัดระดับน้ำมันไว้ด้วย เพื่อสามารถ
ตรวจระดับน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


การหล่อลื่นแบบป้อนหยด (Drip Feed Lubrication)


การหล่อลื่นแบบป้อนหยด เป็นวิธีที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับแบริงส์เม็ดกลมขนาดเล็กที่ทำงาน
ที่ความเร็ว ค่อนข้างสูง น้ำมันเก็บอยู่ในที่เก็บที่มองเห็นได้ (Visible oiler) อัตราหยดของน้ำมันควบคุม โดยสกรูด้านบน


การหล่อลื่นแบบวิดสาด (Splash Lubrication)


การหล่อลื่นแบบนี้น้ำมันจะถูกวิดสู่แบริงส์ด้วยเฟือง หรือแผ่นจานหมุน (Simple rotating dish)
การติดตั้งใกล้กับแบริ่งส์โดยไม่ต้องจุ่มแบริ่งส์ในน้ำมัน การหล่อลื่นแบบนี้ใช้กันทั่วไปในระบบส่งกำลังยนต์ และชุดขับ Final drive gears แสดงวิธีการหล่อลื่นแบบนี้ ที่ใช้ในเกียร์ทด
(Reduction gear)

การหล่อลื่นแบบไหลวน (Circulation lubrication)


หารหล่อลื่นแบบไหลวน เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป สำหรับงานความเร็วสูง ที่ต้องการหล่อเย็นแบริ่งส์
และสำหรับแบริ่งส์ที่ใช้อุณหภูมิสูง น้ำมันจ่ายออกทางท่อขวามือ น้ำมันไหลสู่แบริ่งส์ และไหลออก
ทางท่อซ้ายมือ หลังถูกหล่อเย็นในอ่างเก็บแล้ว ก็จะไหลกลับสู่แบริ่งส์ผ่านปั๊มและกรองท่อน้ำมันด้านจ่าย (dischange) ควรโตกว่าท่อด้านส่ง (Supply) ดังนั้นปริมาณน้ำมันส่วนเกิน จะไม่ย้อนกลับในตัวเสื้อ


การหล่อลื่นแบบเจ็ท (Jet lubrication)


การหล่อลื่นแบบเจ็ท มักจะใช้กับแบริ่งส์ที่มีความเร็วสูงมาก เช่นแบริ่งส์ในเครื่องยนต์เจ็ท ซึ่งมีค่า
dmn (dm: เส้นผ่านศูนย์พิตซ์ของชุดลูกกลิ้งเป็น มม. ; ความเร็วรอบเป็นรอบต่อนาที) เกินหนึ่งล้าน
น้ำมันหล่อลื่นถูกฉีดภายใต้แรงดันจากหนึ่งหรือหลายหัวฉีดตรงเข้าสู่แบริ่งส์
การหล่อลื่นแบบเจ็ททั่วๆ ไปน้ำมันหล่อลื่นจะถูกฉีดไปบนที่วงแหวนและผิวหน้ารัง ในกรณีความเร็วสูงอากาศรอบๆ แบริ่งส์จะหมุนไปด้วยทำ ให้น้ำมันที่ฉีด (Oiljet) หักเหไป ความเร็วของเจ็ทของน้ำมันจากหัวฉีดควรมากกว่า 20% ของความเร็วเส้นรอบวง ของผิวหน้าด้านนอกของแหวนใน
(ซึ่งเป็นด้านหน้านำของ รังเช่นกัน Guide face for the cage) ยิ่งการหล่อเย็นสม่ำเสมอ การกระจาย
ของอุณหภูมิก็ยิ่งดีขึ้นซึ่งก็ทำได้โดยใช้หัวฉีดมากขึ้น สำหรับปริมาณน้ำมันที่กำหนดให้จำนวนหนึ่ง
ดังนั้นจึงต้องจ่ายน้ำมันด้วยแรงดัน เพื่อลดความต้านทานการกระเพื่อมของสารหล่อลื่นและน้ำมัน
สามารถนำพาความร้อนออกไปได้อย่างมีประสิทธิผล


การหล่อลื่นแบบละอองน้ำมัน (Oil mist lubrication)

การหล่อลื่นแบบละอองน้ำมัน หรือที่เรียกว่าแบบหมอกน้ำมัน (oil fog lubrication) นั้น ใช้ละอองน้ำมันฉีดเข้าไปในแบริ่งส์




การเช่าวงจรการสื่อสารความเร็วสูงของระบบอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต สำหรับสังกัดในกระทรวงอุตสาหกรรม






การเช่าใช้งานวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูง ระบบอินทราเน็ต ระบบอินเตอร์เน็ต
สำหรับในหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรม


กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เช่าวงจรสัญญาณความเร็วสูงในแบบบูรณาการให้แก่หน่วยงานต่างๆ
ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายสื่อสาร
ข้อมูล VPN : Virtual Private Network ภายใต้โครงการ "การเช่าใช้งานจรสื่อสัญญาณความเร็วสูง
ระบบอินทราเน็ต ระบบอินเตอร์เน็ต สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานระดับกรม
สาขาในภูมิภาค และสถาบันเครือข่าย" โดยเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบัน


ด้านงบประมาณจากเมื่อปี 2557 ลดลงมาจากปี 2556 ที่ 8.11%

งบประมาณเมื่อปี 2556 อยู่ที่ 37,000,000 ล้านบาท
งบประมาณปี 2557 ณ ตอนนี้อยู่ที่ 34,000,000 ล้านบาท

โดยเฉลี่ยงบประมาณต่อเดือนของ ปี 2556 อยู่ที่ 3,363,636 บาท 
งบประมาณในปี 2557 อยู่ที่ 3,090,909 บาท


วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

( Just-In-Time : JIT ) ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี



       












               ในกิจการอุตสาหกรรมการผลิตสินค้านั้น แต่เดิมมักจะมีลักษณะการผลิตแบบดั้งเดิม
( Traditional Production ) คือ จะมีสินค้าที่ผลิตเตรียมไว้เพื่อขาย ซึ่งในการผลิต ในลักษณะนี้้จะทำให้
มีต้นทุนการผลิตที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการผลิตแบบใหม่ คือ การผลิตแบบทันเวลาพอดี
( JUST IN TIME ) หรือที่เรียกว่า "การผลิตแบบ JIT" ซึ่งการผลิตแบบนี้นับว่ามีความสำคัญในการบริหารการผลิต และเพิ่มผลการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก โดยหลักการของการผลิตแบบ JIT นั้น ก็เป็นเรื่องง่ายๆ และ ธรรมดา กล่าวคือ โรงงานจะทำการผลิตสินค้าให้เสร็จและจะส่งออกไปเมื่อมีการขายเกิดขึ้นเท่านั้น และวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆ ก็จะถูกสั่งซื้อเข้ามาก็ต่อเมื่อมีความต้องการเท่านั้นซึ่งเมื่อเราจะเปรียบเทียบลักษณะการผลิตแบบ JIT กับการผลิตแบบดั้งเดิม โดย
ทั่วๆ ไปแล้วจะเห็นว่าลักษณะการผลิตแบบดั้งเดิมจะเน้นให้มีการผลิตครั้งละมากๆ (Mass Production) 
เพราะถือว่าการผลิตยิ่งมาก จะทำให้เกิดการประหยัดมากที่สุด ในขณะที่การผลิตแบบ JIT จะผลิตเมื่อ
สินค้านั้นถูกต้องการเท่านั้น
               โดยหลักการของการผลิตแบบ JIT คือ ต้องการที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
( Carrying Cost ) ต่ำที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ งานระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้น โดยหลักการ
ของ JIT แล้ว ปริมาณที่จะประหยัดที่สุดก็คือ การผลิต 1 ต่อ 1 หมายความว่า เมื่อผลิตได้ 1 หน่วยก็จะต้องขายได้ 1 หน่วย เช่นกัน แต่ยังไรก็ตามคิดว่าก็ยังไม่มีโรงงานใดในโลกที่จะสามารถทำได้อย่าง
สมบูรณ์แบบ สำหรับการผลิตแบบ JIT นอกจากนี้ในลักษณะการผลิตแบบ JIT จึงต้องพยายามที่จะให้การผลิตนั้นมีคุณภาพมากที่สุดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการผลิตจะเป็นลักษณะที่มีการผลิตเมื่อมีความต้องการในสินค้าเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญจึงทำให้ระบบ
JIT จึงต้องใช้ควบคู่ไปกับการควบคุมคุณภาพที่สมบูรณ์แบบ ( Total Quality Control ) สำหรับลักษณะ
โดยทั่วไปของ TQC นั้น จะเน้นที่มีการระมัดระวังในการผลิตของคนงาน คนงานทุกคนจะต้องรักษาคุณภาพของสินค้าที่ตนเองผลิตอย่างเต็มที่ เพราะถ้าสินค้าที่ผลิตขึ้นมาไม่มีคุณภาพแล้วก็อาจจะทำให้
ไม่สามารถที่จะมีการผลิตต่อไปได้
               จากการผลิตแบบดั้งเดิม และการผลิตแบบ JIT นั้น ต่างก็มีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้น เมื่อเราจะมาพิจารณาถึงความแตกต่างของระบบการผลิตทั้ง 2 ชนิดมี้แล้วก็สามารถที่จะพิจารณาได้ดังนี้คือ



1. ในลักษณะของการผลิต

               สำหรับในเรื่องของลักษณะของการผลิตนั้น เมื่อพิจารณาการผลิตแบบดั้งเดิมจะเห็นว่า ใน
ลักษณะการผลิตแบบดั้งเดิม จะเน้นที่ความสมดุลของสายการผลิต คือ จะมีการแบ่งงานออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ และมีการแบ่งงานกันทำตามลักษณะของความชำนาญ ในขณะที่ลักษณะการผลิตแบบ JIT
นั้น จะมุ่งที่ความคล่องตัวของการผลิต จึงมีลักษณะการผลิตแบบ MANUFACTURING CELL ซึ่งคนงานจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้หมดทุกอย่างในกระบวนการผลิต


2. ในเรื่องกลยุทธ์ในการผลิต

               กลยุทธ์ในการผลิตของการผลิตแบบดั้งเดิม จะมีลักษณะของการกำหนดสายงานผลิตที่แน่นอนมั่นคง โดยจะให้สามารถทำการผลิตได้นานๆ ตรงกันข้ามกับการผลิตแบบ JIT ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงการผลิตได้ทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด


3. การมอบหมายงาน

               การผลิตแบบดั้งเดิมมักจะมีการมอบหมายงานให้คนงานทำเฉพาะงานที่ตนถนัด โดยไม่มีการเปลี่ยนงาน เพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง ในขณะที่การผลิตแบบ JIT มุ่งให้คนงานมีความคล่องตัวในการทำงาน โดยสามารถเปลี่ยนงานจากงานที่หนึ่งทำอีกงานหนึ่งได้ทันที่ที่ได้รับมอบหมาย


4. การเก็บสินค้าคงเหลือ

               เรื่องการผลิตให้มีสินค้าคงเหลือนั้น สำหรับการผลิตแบบดั้งเดิมนั้นจะมีการวางแผนการผลิต
เพื่อให้มีสินค้าพอที่จะขาย โดยมีการผลิตเก็บไว้ใช้สำหรับแก้ปัญหา ในกรณีที่มีความต้องการมากขึ้นและเพื่อแก้ปัญหาเมื่อต้องมีการหยุดงานเนื่องจากเครื่องจักรเสีย ในขณะที่ระบบการผลิตแบบ JIT 
จะไม่มีการผลิตสินค้าเก็บไว้ แต่จะอาศัยคุณภาพในการใช้เครื่องจักร และการบำรุงรักษา เพื่อไม่ให้เครื่องจักรเสียเมื่อต้องปฏิบัติงาน


5. การใช้เทคนิคที่ซับซ้อนยุ่งยาก

               ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมมักจะมีการใช้เทคนิคการวางแผนการผลิต และมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อกำหนดการผลิต ในขณะที่การผลิตแบบ JIT มุ่งที่จะอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนงานในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการติดขัดของการผลิต รวมถึงการวางแผนการผลิตจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขาย ในขณะที่การวางแผนการผลิตแบบดั้งเดิม จะกระทำก่อนที่มีการขายเกิดขึ้น


6. อัตราการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ

               ในระบบการผลิตแบบดั้งเดิม จะมีการผลิตในอัตราความเร็วที่คงที่ เนื่องจากได้มีการวางแผนการผลิตไว้ล่วงหน้า จากความต้องการสินค้าตลอดทั้งปี นอกจากนี้ก็จะมีหน่วยตรวจสอบคุณภาพ ทำการตรวจสอบงานชิ้นที่ไม่ได้คุณภาพ แล้วส่งไปแก้นอกสายการผลิต ขณะที่การผลิตแบบ JIT
มักจะผลิตด้วยอัตราความเร็วสูง และจะทำการตรวจสอบคุณภาพด้วยตนเอง และแก้ไขงานให้ได้คุณภาพทันที โดยใช้ระบบการควบคุมคุณภาพ แบบ TQC/TQM


7. อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิต

               สำหรับการผลิตแบบดั้งเดิมนั้นมักจะมีการจัดวางอุปกรณ์ตามสถานีการผลิต และมักจะมีการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่และทันสมัย โดยพยายามที่จะใช้งานให้เต็มที่ แต่ระบบการผลิตแบบ JIT นั้นจะจัดอุปกรณ์การผลิตให้อยู่ติดกันและเครื่องมือที่ใช้ก็จะสามารถสร้างได้เองที่โรงงาน


8. จำนวนการผลิต

               การผลิตแบบดั้งเดิมมักจะนิยมทำการผลิตในลักษณะการผลิตเป็นจำนวนมากๆ
( MASS PRODUCTION ) เพื่อให้มีความประหยัดมากที่สุดในการผลิต ขณะที่ระบบการผลิตแบบ JIT
จะทำการผลิตจำนวนน้อยๆ และให้ทันต่อความต้องการ โดยพยายามที่จะให้บรรลุเป้าหมายที่ว่า การผลิตที่ประหยัดที่สุดเท่ากับ 1 หน่วย


9. ระบบการสั่งซื้อวัตถุดิบ

               เรื่องสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต โรงงานที่ใช้ระบบการผลิตแบบดั้งเดิม มักจะมีการสั่งซื้อวัสดุดิบมาเก็บไว้ เพื่อเตรียมการผลิตเพื่อป้องกันมิให้เกิดความขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งในวิธีนี้จะทำให้มีต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษาเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามได้พยายามมีการบริหาร
การสั่งซื้อวัสดุดิบเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุดเช่นใช้การ EOQ ( Economic Order Quantity ) ส่วนระบบการผลิตแบบ JIT จะมีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาเฉพาะที่ต้องการใช้เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดต้นทุนเกี่ยวกับการเก็บรักษาแต่ก็จะทำให้มีการสั่งซื้อบ่อยครั้งมาก ซึ่งการลดต้นทุนในการสั่งซื้อก็สามารถแก้ไข โดยมีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวกับพ่อค้าจดส่งวัตถุดิบ และพ่อค้าส่งจะต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดีเกี่ยวกับคุณภาพ และปริมาณที่อุตสาหกรรมต้องการได้ทันที

               จากความแตกต่างของระบบการผลิตแบบดั้งเดิม ( trADITIONAL PRODUCTION ) กับระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี ( JUST-IN-TIME PRODUCTION ) ตามที่ได้อธิบายข้างต้นนั้นก็พอจะสรุปความแตกต่างได้ดังนี้


อย่างไรก็ตาม ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมและระบบการผลิตแบบ JIT ถึงแม้จะมีข้อแตกต่างกันมากมาย
ก็ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งยังคงใช้ระบบการผลิตแบบดั้งเดิม และก็มีอีกหลายโรงงานที่ใช้ระบบ JIT ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและข้อจำกัดต่างๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดระบบการผลิตที่จะนำมาใช้ในโรงงาน ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงลักษณะที่ดีของระบบการผลิตแต่ละชนิดเราก็สามารถจะสรุปได้ดังนี้

ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบการผลิตแบบ JIT

1. ด้านต้นทุนการผลิตและลดขนาดการผลิต

              ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะทำการผลิตเมื่อมีการสั่งซื้อเท่านั้น ดังนั้นจะมีการลดต้นทุน 
การเก็บรักษาสินค้าและวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังลดต้นทุนในสินค้าที่ผลิตมาแล้วไม่ได้จำหน่ายออกไป
ดังนั้นตามทฤษฎีแล้ว ระบบการผลิตสินค้าแบบ JIT จะมีต้นทุุนการผลิตที่ต่ำที่สุดด้วย

2. ด้านคุณภาพของสินค้า

               ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น มักจะใช้ควบคู่ไปกับระบบการควบคุมคุณภาพอย่างสมบูรณ์
(TQC/TQM) ดังนั้น จึงทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพดี ซึ่งจะต้องไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย
ในขบวนการผลิตตามแบบ ของ JIT

3. ลดการลงทุนในสินทรัพย์ประจำ

               ในระบบการผลิตแบบ JIT จะไม่มีการเก็บสินค้าไว้และไม่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาเก็บไว้ในโกดัง
หรือคลังเก็บสินค้า ดังนั้น ทำให้กิจกรรมสามารถที่จะประหยัดเงินลงทุนในสินทรัพย์ประจำเหล่านี้ได้

4. ทำให้คนงานมีความรับผิดชอบสูงและมีความสามารถทั่วไป

               ระบบการผลิตแบบ JIT เน้นที่คนงานจะต้องมีความรับผิดชอบสูงในเรื่องของการผลิตสินค้า
ให้มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพราะถ้าคนงานคนใดผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพก็จะทำให้ไม่สามารถทำการผลิตต่อไปได้นอกจากนี้คนจะต้องมีความสามารถโดยทั่วไป เกี่ยวกับการผลิตและขบวนการผลิต ดังนั้นคนงาน
จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบการผลิตแบบนี้

5. ทำให้ลดเวลาเตรียมการผลิต

               ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะมีระบบการผลิตที่ง่ายๆ และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน ดังนั้นจึงทำให้เวลาในการเตรียมการผลิตลดลง ทำให้ไม่ต้องเสียต้นทุนในการเตรียมการผลิต


ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบผลิตแบบดั้งเดิม ( trADITIONAL PRODUCTION )


1. ในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อน

สำหรับกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงและมีความยุ่งยากซับซ้อน การใช้ระบบ
การผลิตแบบ JIT จึงดูจะไม่มีความเหมาะสมเพราะระบบ JIT มักจะใช้ระบบที่ผลิตง่ายๆ และไม่ต้อง
อาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงอะไร

2. ถ้าเป็นกรณีของการผลิตสินค้าแบบ MASS PRODUCTION

ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการผลิตในลักษณะ MASS PRODUCTION แล้ว ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมจะมีความได้เปรียบกว่า เพราะต้องอาศัยวัตถุดิบจำนวนมาก ซึ่งระบบ JIT จะทำการผลิตแบบ 
MASS PRODUCTION ไม่ได้

3. มีสินค้าจำหน่ายได้ทันทีที่ต้องการ

การผลิตแบบดั้งเดิม จะมีการผลิตสินค้าตามตารางการผลิตและมักจะมีการผลิตสินค้าเหลือเก็บไว้ใน
คลังสินค้า เพื่อสำรองไว้ในกรณีที่มีลูกค้าต้องการอย่างกระทันหัน หรือสำรองไว้ในกรณีที่เครื่องจักร
ไม่สามารถทำการผลิตได้

4. ไม่ก่อให้เกิดการว่างงาน

กรณีที่ไม่มีการสั่งซื้อจากลูกค้า ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมก็จะไม่ทำให้คนงานเกิดการว่างงาน
เพราะจะมีการผลิตไปเรื่อยๆ เพื่อเตรียมไว้จำหน่ายภายหลัง ถึงแม้ว่าระบบการผลิตแบบ 
JUST-IN-TIME จะบอกว่าถ้าไม่มีการผลิตก็สามารถนำคนงานไปใช้งานอย่างอื่นได้ อย่างไรก็ตามคิดว่าก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ทั้งหมด

5. สามารถวางแผนการผลิตได้ล่วงหน้าได้แน่นอน

ในการผลิตแบบ JUST-IN-TIME ทำให้ไม่สามารถที่จะจัดทำแผนการผลิตและงบประมาณการขายได้
อย่างแน่นอน ซึ่งทำให้ระบบการควบคุมและจัดผลงานทำได้ยากยิ่งขึ้น

6. สินค้าที่มีความต้องการตามฤดูกาล

ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะมีความต้องการตามช่วงฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่งเท่านั้น การใช้ระบบการผลิตแบ 
JIT ดูจะไม่ให้ผลดีเลย เพราะจะทำให้เกิดการว่างงานและไม่มีการผลิตในช่วงอื่นๆ สินค้าผลิตไม่ทัน
กับความต้องการ ดังนั้นประเด็นนี้ ระบบการผลิตแบบดั้งเดิมดูจะมีความได้เปรียบมากกว่า

7. สินค้าที่มีราคาถูกและมีหลายรูปแบบ

ถ้าสินค้าที่ทำการผลิตมีราคาถูกและมีหลายรูปแบบแล้ว การผลิตแบบ JUST-IN-TIME ดูจะใช้ไม่ได้ผล
เพราะแทนที่จะทำให้สินค้ามีต้นทุนต่ำกับจะทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นมากกว่า และถ้าสินค้านั้นจำเป็นต้อง
มีหลายๆ รูปแบบ ระบบ JIT จะไม่สามารถตอบสนองได้ทันที


ข้อจำกัดในการใช้ระบบ JIT ในเมืองไทย

               เมื่อเราได้ทราบถึงลักษณะโดยทั่วไปของระบบการผลิตแบบ JUST-IN-TIME และระบบการ
ผลิตแบบดั้งเดิม ( trADITIONAL PRODUCTION ) ตลอดข้อได้เปรียบของระบบการผลิตแต่ละชนิด
แล้วปัญหาที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในเมืองไทยคิดที่จะนำระบบ
การผลิตแบบ JUST-IN-TIME เข้ามาใช้บ้างจะมีปัญหาอย่างไร หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วเห็นว่าการใช้ระบบการผลิตทุกระบบย่อมจะต้องมีข้อจำกัดและปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือเราจะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้หรือไม่  อย่างไร สำหรับการผลิตแบบดั้งเดิม 
(trADITIONAL PRODUCTION) หรือระบบการผลิตที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในเมืองไทยขณะนี้ ก็คงจะได้รับ
การแก้ไขปัญหามากแล้วจนทำให้มีการใช้ระบบการผลิตดังกล่าวอย่างแพร่หลาย แต่ถ้ามีโรงงานใดโรง
งานหนึ่งที่มีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนรูปแบบของการผลิตมาเป็นลักษณะการผลิตแบบ JIT แล้ว
ก็อาจจะต้องประสบปัญหาเหล่านี้ คือ 


1. ในเรื่องระบบการคมนาคมขนส่ง

               เป็นเรื่องที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะไม่มีการผลิตจนกว่าจะได้รับคำสั่งซื้อ และจะไม่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบเข้ามาเก็บไว้เพื่อรอการผลิต ดังนั้นในระบบการผลิตแบบ
JIT นั้น จะมีลักษณะของการสั่งซื้อวัตถุดิบเมื่อมีความต้องการ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ต้องมีการสั่งซื้อ
วัตถุดิบบ่อยครั้งๆ ละจำนวนไม่มาก สิ่งหนึ่งที่จะต้องดีพอที่จะทำให้การขนส่งวัตถุดิบรวดเร็วและทันความต้องการก็คือ ระบบการขนส่งคมนาคม ซึ่งในเรื่องนี้ในประเทศไทยคงจะต้องประสบปัญหาการ
ขนส่งอย่างแน่นอน เช่น การจราจรติดขัดอยู่เป็นประจำ ซึ่งเหตุนี้อาจจะทำให้การขนส่งไม่ได้รับทันที
ที่ต้องการ


2. ในเรื่องความสามารถของผู้จัดส่งวัตถุดิบ

               จากที่ทราบอยู่แล้วว่าระบบการผลิตแบบ JIT นั้น จะไม่มีการสั่งวัตถุดิบมาเก็บไว้ในคลังสินค้า
แต่จะใช้การสั่งเข้ามาเมื่อต้องการใช้ทำการผลิต ดังนั้น ความพร้อมและความสามารถของผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงมีความสำคัญมากต่อระบบการผลิตแบบนี้ นอกจากนี้ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะต้องมีความรับผิดชอบ
อย่างมากต่อคุณภาพของวัตถุดิบส่วนใหญ่ในเมืองไทยยังไม่สามารถที่จะมีความพร้อมและความรับผิดชอบมากถึงขนาดนี้


3. ความรับผิดชอบของคนงาน

               คนงานนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดของระบบการผลิตแบบ JIT เพราะในระบบการผลิต
แบบนี้ คนงานจะต้องมีความรับผิดชอบสูงมากต่อการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพดีที่สุด โดยแทบจะไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้นเลย เพราะถ้าคนงานคนใดผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถทำการ
ผลิตต่อไปได้เลยจึงต้องนำกลับมาทำใหม่ทันที นอกจากนี้แล้วคนงานจะต้องพร้อมที่จะช่วยงานส่วนอื่นๆ ได้ทันทีที่ได้รับมอบหมายหรือเมื่อตนว่างจากการผลิต ดังนั้น คนงานจึงต้องมีประสิทธิภาพสูงสามารถทำงานได้โดยทั่วไป ซึ่งประเด็นนี้ก็อาจจะกลายมาเป็นปัญหาตัวสำคัญ ก็คือ ในการที่โรงงาน
อุตสาหกรรมในประเทศไทยคิดที่จะนำระบบ JIT เข้ามาใช้ในการผลิต ก็จะต้องคำนึงถึงลักษณะนิสัย
ของคนไทยด้วย เนื่องจากโดยลักษณะนิสัยของคนไทยโดยทั่วไปยังขาดความรับผิดชอบที่สูงพอและ
มักจะทำงานตามหน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น


สรุปการผลิตแบบทันเวลาพอดี ( JUST-IN-TIME )

1. การผลิตแบบทันเวลาพอดี ( JIT ) จะผลิตเมื่อสินค้านั้นถูกต้องการเท่านั้น
2. การให้ความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ จึงทำให้ระบบ JIT ต้องใช้ควบคุมคุณภาพที่
สมบูรณ์แบบ (Total Quality Control/TQC)


สรุปข้อได้เปรียบของการใช้ระบบการผลิตแบบ JIT

1. ด้านต้นทุนการผลิตและลดขนาดการผลิต
2. ด้านคุณภาพของสินค้า
3. ลดการลงทุนที่สินทรัพย์ประจำ
4. ทำให้คนงานมีความรับผิดชอบสูงและมีความสามารถทั่วไป
5. ทำให้ลดเวลาเตรียบการผลิต


สรุปข้อจำกัดในการใช้ระบบ JIT ในเมืองไทย

1. ในเรื่องคมนาคมขนส่ง
2. ในเรื่องความสามารถของผู้จัดส่งวัตถุดิบ
3. ความรับผิดชอบของคนงาน









วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นระดับโลก

Global Business Trend

แนวโน้วของธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นระดับโลก


ทุกวันนี้เราจะพบว่าแนวโน้มของโลกเริ่มมีเงื่อนไขทางการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น เช่น ฉลากสิ่งแวดล้อม
คาร์บอนฟุตพริ้น เริ่มเข้มข้นมากขึ้น ทั้งในยุโรป และเอเชีย ก็เริ่มสร้างเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมา 
โดยเฉพาะเทรนด์การสร้างความตระหนักในเรื่อง "การใช้อย่างคุ้มค่า" เช่น สินค้ารีไซเคิล สินค้าประหยัดพลังงาน และอื่นอีกมากมาย แนวโน้มการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต เราควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องไดบ้าง




ที่ปรึกษาด้านเทคนิค สถาบันฯสิ่งทอ ได้กล่าวถึงการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 1 วินาที
เกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งมีรายงานว่า 1 วินาที มีการเติบโตของประชากรราว 2.4 คนมีการบริโภคเนื้อสัตว์
6.9 ตัน และมีการผลิตรถยนต์ 1.3 คัน สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าทำไมเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เริ่มหมดไป เนื่องจากปริมาณคนเพิ่มขึ้น การบริโภคก็มากขึ้นตามไปด้วย


หน่วยงานสากลระดัลโลก UNEP ได้เปิดเผยหลังจากที่ได้มีการประชุมที่ Rio บลาซิล มีการนำเสนอประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ศตวรรษ 21 เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องทำอย่างไร
ซึ่งก็พบว่า "การผลิตที่ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ผู้บริโภคมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่" เริ่มมีประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ สังคมจะต้องร่วมมือกันไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นแล้วการบริโภคจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยมีข้อสรุปว่าจะต้อง "เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการบริโภค" ซึ่งมาตราการนี้เริ่มเกิดขึ้นทั่วโลก
แล้วและกำลังส่งผลกระทบถึงผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดสายซัพพลายเชน (Supply Chain)


บริษัทค้าปลีกชั้นนำระดับโลกหลายรายออกมาประกาศและก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เช่น วอลมาร์ท (Walmart) ให้ความสำคัญเรื่องใช้พลังงานหมุนเวียน (Reneweble Energy) 
การลดของเสีย (Zero Waste) สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้าน TESCO ประกาศให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน โดยตั้งเป้าภายในปี 2050 จะเป็น Zero-Carbon ซึ่งปัจจุบันร่วมดำเนินการร่วมกับซัพพลายเออร์ทั่วโลกแล้ว 


นอกจากนี้ บริษัทเสื้อผ้าชั้นนำทั่วโลกต่างก็สื่อสารการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางสำคัญ เช่น อาดิดาส
ได้ประกาศว่าจะลด Environmental Footprint ลง 15% ภายในปี 2015


บริษัทแฟชั่นแบร์นดังระดับโลกทั้งหลายแทบทุกแบร์น ไม่ว่าจะเป็น อามานี่ (Armani) ซาร่า (Zara) 
ลีวาย (Levi's) ซีแอน์เอ (C&A) มาร์คแอนสเปนเซอร์ (Marks & Spencer) แมงโก (Mango) และอีกหลายแบร์น พบว่ามีปริมาณสารเคมีที่ตกค้างในปริมาณที่เกินมาตรฐาน จึงกลายเป็นชนวนที่กลุ่มกรีน
พีชรุกขึ้นมาทำโปรเจคระดับโลกเพื่อลดการปล่อยมลพิษให้เหลือศูนย์ (Zero Discharge) 
สำหรับสารเคมีอันตรายทุกชนิดให้หมดไป โดยยุติการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในวงจรการผลิตสินค้า
และขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฎิบัติในตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) 


กรีนพีชจึงประกาศจับมือทุกแบร์นร่วมขจัดสารเคมีตกค้าง โครงการรณรงค์ระดับโลก ตลอดปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแบร์นซาร่า (Zara) ออกมาทำแคมเปญชื่อว่า หยุดแฟชั่นสารพิษ เมื่อปลายปี
2555 รวมไปถึงแบร์นต่างๆใน Inditex Group ด้วย โดยมีการรณรงค์และตรวจสอบโรงงานผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ (Sourcing) กับโรงงานหรือซัพพลายเออร์ (Suppliers) ที่ได้รับการรับรองในเรื่องการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิิ่งแวดล้อม


การแสดงเจตจำนงของซาร่า (Zara) ที่จะมุ่งไปสู่การเป็นแฟชั่นปลอดสารพิษ เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า
แบร์นอื่นๆ ก็มไม่ควรจะปฏิเสธ รวมไปถึงผู้ประกอบการสิ่งทอต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ



วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความสำคัญของตลับลูกปืน






                    เครื่องมืลกลแทบทุกชนิด จะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญหลักๆ คือ ตลับลูกปืน ซึ่งเป็น

อุปกรณ์ที่เป็นที่รองรับประคองการหมุนของเพลางาน (Work Spindle) และเพลาชุดเฟืองทดรอบ

(Shaft) นอกจากนี้ ตลับลูกปืนยังทำหน้าที่ถ่ายทอดหรือส่งผ่านแรงที่เกิดจากงานบนเพลาให้ผ่านลงไปสู่

ฐานเครื่อง หากเปรียบหน้าที่ทำงานของ ตลับลูกปืน กับชิ้นส่วนอื่นๆ ของเครื่องมือกลแล้ว จะเห็นว่า

ตลับลูกปืน เป็นจุดวิกฤตจุดหนึ่งของเครื่องมือกล เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่หลายๆ อย่าง

ในขณะเดียวกัน ดังนั้นชิ้นส่วนที่หมดสภาพการใช้งานหรือเสียหายจึงมักจะเกิดกับ ตลับลูกปืน 

การเลือกชนิด ตลับลูกปืน การถอดและประกอบ ตลับลูกปืน และการบำรุงรักษา จึงสำคัญอย่างยิ่ง

ในงานเครื่องมือกล


แล้วทำไมถึงต้องใช้ตลับลูกปืน 


                    ตลับลูกปืน ทำหน้าที่ลดความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส ทำให้ความสามารถลดปริมาณ

พลังงานที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักรและนอกจากความเสียดทานที่ลดลงแล้ว จึงช่วยเพิ่ม

สมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร ลดการสึกหรอ มีผลให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น




วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

โครงสร้างของ ตลับลูกปืน

                    ภาระที่ทำในเครื่องจักรกล สามารถจำแนกออกได้เป็นภาระแนวรัศมีและภาระในแนวแกน 

ตลับลูกปืน ที่ใช้กันการรองรับจำเป็นที่จะต้องรับภาระที่กะทำทั้งสองแกนหรือแนวใดแนวหนึ่ง 

การออกแบบรูปร่างของ ตลับลูกปืน เหมาะสมต่อขนาดและทิศทางของการรับภาระที่กระทำดังนั้น

ตลับลูกปืน ที่มีอยู่ในท้องตลาดจึงมีรูปร่างและโครงสร้างต่างๆ กัน ด้วยเหตุที่ ตลับลูกปืน มีขนาดและ

ชนิดที่ต่างกันเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องกำหนด ตลับลูกปืน ขึ้นเป็นมาตรฐาน เพื่อสะดวกต่อการ

ออกแบบเครื่องจักรกล




                    ตลับลูกปืน ทั่วไปจะประกอบไปด้วยแหวนสองส่วนคือ แหวนใน (Inner ring)

และแหวนนอก (Outer ring) (แหวนในจะแขวนสวมเข้ากับเพลาและแหวนนอกจะยึดอยุ่ในตัวเรือน)

มีลูกกลิ้งแบบเม็ดกลม (ball) เป็นแบบเม็ดทรงกระบอก (Roller) อยู่ในระหว่างแหวนในและแหวน

นอก โดดยจะมีกรงหรือรัง (Cage) หรือเรียกว่า Retainer คั่นแยกลูกกลิ้งให้มีระยะห่างคงที่ เมื่อแหวน

ใดแหวนหนึ่งหมุน ลูกกลิ้งก็จะกลิ้งอยู่ในรางของแหวน แหวนใน,แหวนนอกและเม็ดลูกปืน โดยทั่วไป

จะทำจากโลหะคาร์บอนเกรดสูงชุบโครเมี่ยม