ที เอช เอ็น อินทิเกรชั่น ตัวแทนขายสินค้าอุตสหกรรม ต่างๆ จำหน่าย ตลับลูกปืน Bearing ลูกปืน NSK,SKF,NTN,AKI,INA,NACHI,ASAHI,TIMKEN,KOYO โซ่ KANA สายพาน BANDO บอลวาล์ว KITZ บอลสกรู HIWIN,THK ออยซีล SOG,NAK,CR ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด
วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ความรู้ทั่ว ๆ ไปของ BEARING SKF ตลับลูกปืน และข้อกำหนด ในการระบุ BEARING ตามมาตรฐาน ISO ต่อจากข้อความก่อน (2)
ในวันนี้เราจะมาพูดกันถึงหัวข้อ ลักษณะการออกแบบของ Bearing ประเภทต่างๆ
เราไปดูกันเลย
ลักษณะการออกแบบของ Bearing ประเภทต่างๆ
Bearing ได้รับการออกแบบและมีผลิตมากมายหลายประเภท และวิธีการเลือกประเภท
ของ Bearing ให้เหมาะกับลักษณะงานจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในลักษณะการ
ทำงานของ Bearing แต่ละประเภท ซึ่งภาพลักษณะการออกแบบของ Bearing ประเภทต่างๆ
ที่แสดงไว้ต่อไปนี้
รูปภาพนี้ Bearing รับแรงในแนวรัศมี
จากข้อมูลตามรูปภาพมาดูกันเลย
Bearing เม็ดกลมร่องลึก
- ชนิดแถวเดี่ยว (เบอร์ 1 ตามภาพ) อาจออกแบบให้มีฝาปิดยางหรือเหล็กในตัวทั้งสองด้าน
หรือออกแบบให้มีล่องสำหรับใส่แหวนสปริงที่วงแหวนนอก
- ชนิดสองแถว (เบอร์ 2 ตามภาพ)
Bearing เม็ดกลมสองแถวปรับแนวได้เอง
- ชนิดรูตรงหรือรูเรียว (เบอร์ 3 ตามภาพ) วงแหวนในยื่นยาวเป็นพิเศษ (เบอร์ 4 ตามภาพ)
Bearing เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุม
- ชนิดแถวเดี่ยวใช้ติดตั้งเดี่ยวหรือเป็นคู่ (เบอร์ 5 ตามภาพ) ชนิดที่มีความแม่นยำสูง
(เบอร์ 6 ตามภาพ)
- ชนิดสองแถว (เบอร์ 7 ตามภาพ) อาจจะออกแบบมาให้ฝาปิดยางหรือเหล็กในตัวทั้งสองด้าน
- ชนิดมุมสัมผัส 4 จุด (เบอร์ 8 ตามภาพ)
Bearing เม็ดทรงกระบอก
- แถวเดียวประเภท NU (เบอร์ 9 ตามภาพ) NJ (เบอร์ 11 ตามภาพ) พร้อม angle ring HJ
(เบอร์ 12 ตามภาพ) NUP
- สองแถว ประเภท NN (เบอร์ 15 ตามภาพ) NNU (เบอร์ 14 ตามภาพ)
- หลายแถว (เบอร์ 16 ตามภาพ)
Bearing เม็ดทรงกระบอกพร้อมส่วนประกอบสมบูรณ์ (ไม่มี Retainer)
- ชนิดแถวเดี่ยว (เบอร์ 17 ตามภาพ)
- ชนิดสองแถวพร้อมฝาปิดกันฝุ่น (เบอร์ 18 ตามภาพ) หรือไม่มีฝาปิดกันฝุ่น
- ชนิดหลายแถว
Bearing เม็ดทรงกระบอกไขว้
- ชนิดไขว้ (เบอร์ 19 ตามภาพ)
Bearing เม็ดเข็ม
- ชนิด drawn cup แบบปลายเปิด (เบอร์ 20 ตามภาพ) และปลายปิดพร้อมแหวนใน
หรือไม่มีวงแหวนใน (เบอร์ 21 ตามภาพ)
- ชนิดที่มีเฉพาะเม็ดเข็มและรังเท่านั้น (เบอร์ 22 ตามภาพ)
- ชนิดที่มีประกอบด้วย Bearing ประเภทอื่นในชุดเดียวกัน (เบอร์ 23 ตามภาพ)
- ชนิดที่ปรับแนวได้เอง
Bearing เม็ดโค้ง
- ชนิดที่มีรูตรง (เบอร์ 24 ตามภาพ) หรือรูเรียว
Bearing เม็ดเรียว
- แถวเดี่ยว (เบอร์ 25 ตามภาพ) อาจออกแบบติดตั้งสองตลับชนกัน DF, DB, DT
- สองแนว (เบอร์ 26 ตามภาพ)
- สี่แนว (เบอร์ 27 ตามภาพ)
Bearing เม็ดเรียว
- ชนิดไขว้ (เบอร์ 28 ตามภาพ)
Bearing กันรุน (Thrust bearing)
Bearing เม็ดกลมกันรุน
- ชนิดทิศทางเดียว พร้อมแหวนรองเสื้อชนิดแบน (เบอร์ 29 ตามภาพ) หรือผิวโค้ง
- ชนิดสองทิศทาง พร้อมแหวนรองเสื้อชนิดแบน หรือผิวโค้งพร้อมแหวนรอง (เบอร์ 30 ตามภาพ)
Bearing สัมผัสเชิงมุมกันรุน
- ชนิดทางเดียว (เบอร์ 31 ตามภาพ) หรือ สองทิศทาง (เบอร์ 32 ตามภาพ)
Bearing เม็ดทรงกระบอกกันรุน (เบอร์ 33 ตามภาพ)
Bearing เม็ดเข็มกันรุน (เบอร์ 34 ตามภาพ)
Bearing เม็ดโค้งกันรุน (เบอร์ 35 ตามภาพ)
Bearing เม็ดเรียวกันรุน
- แถวเดี่ยว (เบอร์ 36 ตามภาพ) หรือ สองแถว (เบอร์ 37 ตามภาพ)
Bearing วาย
- พร้อมแหวนล็อกชนิดเยื้องศูนย์แหวนในยื่นออกมาข้างเดียว (เบอร์ 38 ตามภาพ)
หรือสองข้างพร้อมสกรูตัวหนอนล็อกเพลา (เบอร์ 39 ตามภาพ)
- พร้อมปลอกปรับขนาดเพลา (adapter sleeve) (เบอร์ 40 ตามภาพ)
- พร้อมแหวนในปกติ (เบอร์ 41 ตามภาพ)
Cam Rollers
- แบบหน้าแคบสำหรับรางวิ่งผิวโค้ง (เบอร์ 42 ตามภาพ) แบบหน้ากว้างสำหรับรางวิ่ง
ผิวเรียบตรง (เบอร์ 43 ตามภาพ) หรือผิวโค้ง
Support Rollers
- ชนิดที่ไม่มีแหวนกันรุน พร้อมรางวิ่งผิวโค้ง (เบอร์ 44 ตามภาพ) หรือผิวเรียบตรง อาจมี
หรือไม่มีแหวนในและ อาจมีหรือไม่มีฝาปิดกันฝุ่นในตัวเอง
- ชนิดที่มีแหวนกันรุน พร้อมรางวิ่งผิวโค้งหรือผิวเรียบตรง แบบถอดแยกได้ (เบอร์ 45 ตามภาพ)
หรือถอดแยก ไม่ได้ อาจผลิตให้มีรัง (เบอร์ 46 ตามภาพ) หรือ full complement (ไม่มีรัง) มีรัง
(เบอร์ 47 ตามภาพ)
ความหมายอักษรต่อท้ายเบอร์ Bearing SKF
ช่องว่างภายใน Bearing
C1 ช่องว่างภายในที่น้อยกว่า C2
C2 ช่องว่างภายในที่น้อยกว่าปกติ
C3 ช่องว่างภายในมากกว่าปกติ
C4 ช่องว่างภายในมากกว่า C3
C5 ช่องว่างภายในมากกว่า C4
ช่องว่างภายนอก Bearing
K Bearing มีรูเรียว อัตราส่วน 1 : 12
K30 Bearing มีรูเรียว อัตราส่วน 1 : 30
N Bearing มีวงแหวนนอกมีร่องสำหรับสวมแหวนสปริง
NR Bearing ที่มีวงแหวนนอกมีร่องพร้อมแหวนสปริง
W33 Bearing มีวงแหวนนอกมีรู 3 รู สำหรับการหล่อลื่น
ระดับมาตรฐานพิกัดความเผื่อในการผลิต
P4 ความแม่นยำในการผลิตตามมาตรฐานชั้น P4v ของ ISO (ซึ่งสูงกว่า P5)
P5 ความแม่นยำในการผลิตตามมาตรฐานชั้น P5 ของ ISO (ซึ่งสูงกว่า P6)
P6 ความแม่นยำในการผลิตตามมาตรฐานชั้น P6 ของ ISO (ซึ่งสูงกว่าปกติ)
SP ความแม่นยำในการผลิตตามมาตรฐานชั้น P5
ความแม่นยำในขณะทำงานตามมาตรฐานชั้น P4
UP ความแม่นยำในการผลิตตามมาตรฐานชั้น P4
ความแม่นยำในขณะทำงานตามมาตรฐานสูงกว่าชั้น P4
ลักษณะการติดตั้ง
CB Bearing เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุมสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือจับคู่โดยมี
ช่องว่างภายในแนวแกนหลังการติดตั้ง
ลักษณะการใช้งานเฉพาะด้าน
A15 Bearing ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่สำหรับงานที่มีความสั่นสะเทือนมาก โดยจะปรากฎ
ใน Bearing ขนาดเล็ก เช่นตะแกรงร่องกรวด
VA405 Bearing ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่สำหรับงานที่มีความสั่นสะเทือนมาก โดยจะปรากฎ
ใน Bearing ขนาดกลาง, ใหญ่
VA406 Bearing ที่ออกแบบพิเศษสำหรับงาน vibrating screen ที่มีการเคลือบสาร Teflon
ที่รูในของ Bearing
VA208 Bearing สำหรับงานที่มีความสามารถทนความร้อนสูง เช่น ในเตาเผา ของโรงงาน
เซรามิค โรงอิฐ โรงงานน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
VA301 Bearing เม็ดทรงกระบอกสำหรับมอเตอร์ฉุดลาก เช่น traction motor
ความหมายอักษรต่อท้ายเบอร์ Bearing SKF
RS1 แผ่นกันฝุ่นยางสังเคราะห์ด้านเดียว
2RS1 แผ่นกันฝุ่นยางสังเคราะห์สองด้าน
Z แผ่นกันฝุ่นเหล็กกล้าด้านเดียว
2Z แผ่นกันฝุ่นเหล็กกล้าสองด้าน
ชนิดรัง (Retainer)
J รังเหล็กปั๊มขึ้นรูป
M รังทองเหลืองกลึงขึ้นรูป
Y รังทองเหลืองปั๊มขึ้นรูป
TN รังพลาสติกฉีดขึ้นรูป
P รังโพลียาไมด์ 6.6 เสริมด้วยใยแก้ว
V Bearing ชนิดที่ไม่มีรัง
ความหมายของอักษรนำหน้ารหัสสินค้าปลอกปรับขนาดเพลาและปลอกสวมเพลา
H ปลอกปรับขนาดเพลาขนาดมิลลิเมตร
HA ปลอกปรับขนาดเพลาสำหรับขนาดเป็น นิ้ว ในอัตราส่วน 1/16 ของนิ้ว
HE ปลอกปรับขนาดเพลาสำหรับขนาดเป็น นิ้ว ในอัตราส่วน 1/4 ของนิ้ว
HS ปลอกปรับขนาดเพลาสำหรับขนาดเป็น นิ้ว ในอัตราส่วน 1/8 ของนิ้ว
OH ปลอกปรับขนาดเพลาที่มีรูน้ำมันอยู่ตรงฟันเกลียวเพื่อช่วยในการถอด
และติดตั้ง Bearing โดยวิธีการอัดน้ำมันด้วยชุดปั๊มไฮดรอลิคของ SKF ซึ่งลอกปรับ
ขนาดเพลารุ่น OH จะมีขนาดมาตรฐาน เช่น รุ่น H
AH ปลอกสวมเพลาสำหรับเพลาขนาดเป็นมิลลิเมตร
AHX ปลอกสวมเพลาพิเศษสำหรับเพลาขนาดเป็นมิลลิเมตร
AOH ปลอกสวมเพลาที่มีรูน้ำมันเพื่อช่วยในการถอดใส่ตลับลูกปืน
ด้วยระบบอัดน้ำมันไฮดรอลิค SKF
ข้อกำหนด ในการระบุ Bearing ตามมาตรฐานของ ISO
Bearing ที่มีพิกัดขนาดเป็นเมตริกซ์ของ SKF จะมีการระบุรหัสสินค้าพื้นฐานโดยประกอบ
ด้วยตัวเลข 3 หรือ 4 หรือ 5 ตำแหน่ง หรือการรวมตัวกันระหว่างตัวอักษรและตัวเลข
ISO ได้อาศัยกฎเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดเป็นมาตรฐานสากลโดยมีรายละเอียดแสดงดังนี้
การระบุชนิดของ Bearing
0 = Bearing เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุม
1 = Bearing เม็ดกลมปรับแนวได้เอง
2 = Bearing เม็ดโค้งและ Bearing กันรุนเม็ดโค้ง
3 = Bearing เม็ดเรียว
4 = Bearing เม็ดกลมร่องลึก สองแถว
5 = Bearing เม็ดกลมกันรุน
6 = Bearing เม็ดกลมร่องลึก แถวเดี่ยว
7 = Bearing เม็ดกลมสัมผัสเชิงมุม แถวเดี่ยว
8 = Bearing กันรุนเม็ดทรงกระบอก
N = Bearing เม็ดทรงกระบอก
@ ต่อจากอักษร N อาจจะมีตัวอักษรอีกหนึ่งหรือสองตัวเพื่อระบุถึงประเภทการออกแบบ
ของ Bearing ตัวอย่างเช่น NJ, NU, NUP เป็นต้นการระบุ Bearing ที่มีเม็ดตั้งแต่สองแถวขึ้นไป
จะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร NN
@ Bearing เม็ดเข็มการระบุโดยปกติ จะเริ่มต้นด้วยอักษร NA หรือ NK
OJ = Bearing เม็ดกลมสัมผัส 4 จุด
(T*) = Bearing เม็ดเรียว
Bearing ที่มีมิติตามมาตรฐาน ISO 355 สำหรับ Bearing เม็ดเรียวที่มีมิติตามอนุกรม
มาตรฐานอเมริกัน จะได้รับการระบุแยกออกไปต่างหาก
*) = การระบุด้วยตัว T จะได้กับอนุกรมใหม่เท่านั้น
คำอธิบายประกอบแผนผัง
- ตัวเลขหรือตัวอักษรในตำแหน่งที่ 1 จะบ่งบอกถึงชนิดของ Bearing
- ตัวเลขตำแหน่งที่ 2 จะเป็นการบ่งบอกถึงพิกัดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอก
ของ Bearing ในลักษณะของอนุกรมเปรียบเทียบกัน พพิกัดขนาดที่แท้จริงจำเป็นที่จะต้อง
ศึกษาจากคู่มือ Bearing
- ตัวเลข 2 ตัวสุดท้าย เมื่อคุณด้วย 5 แล้วจึงจะบ่งบอกถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูใน
มาตรฐานของตลับลูกปืน มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร
และทั้งหมดนี้ก็คือ ข้อมูลของ Bearing ตลับลูกปืน อาจจะมีข้อมูลที่เยอะกว่านี้
แต่ทางผู้ที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวกับ Bearing ทางเราจะเอาข้อมูล
มาให้ประโยชน์เรื่อยๆ รับรองผู้ที่เข้ามาเอาความรู้ทุกท่านจะไม่ผิดหวังแน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)